สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

กิจกรรม 4 การประชุมสัมมนา การพัฒนากิจกรรมเรียนรู้เพศศึกษา

photo  , 280x210 pixel , 39,193 bytes.

การประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนากิจรรมเรียนรู้เพศศึกษา 20 กันยายน 2548  ณ โรงแรมไดอิชิหาดใหญ่ จ.สงขลา

กระบวนการและผลของการประชุมเชิงปฏิบัติการที่เกิดขึ้นในเวที เวทีสัมมนาเริ่มเวลา 09:00 น. โดยมีครูเข้าร่วมสัมมนาเป็นจำนวน 25 คน จาก 15 โรงเรียน ที่อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษา 2 จังหวัดสงขลา ด้วยการกล่าวต้อนรับและชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของการจัดเวทีสัมมนาครั้งนี้ คือ เพื่อให้ครูเข้าร่วมโครงการทบทวนและสรุปเชิงวิเคราะห์ตัวเองต่อการสอนเพศศึกษา และค้นหาแผนการพัฒนาตนเองในการยกระดับการสร้างการเรียนรู้เพศศึกษาให้กับนักเรียน การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ดำเนินงานในความรับผิดชอบของกลุ่มมานีมานะ โดยมีคุณโตมร อภิวันทนากร วิทยากรประจำโครงการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพศศึกษาด้วยกิจกรรมทางการละคร และคณะทำงานของกลุ่มมานีมานะ เป็นผู้นำและดำเนินกระบวนการเวทีตลอดการประชุมครั้งนี้
รูปแบบการประชุมครั้งนี้ ถูกออกแบบให้เน้นการมีส่วนร่วมตามลำดับกระบวนการประชุม อาศัยการวิเคราะห์ของกลุ่มย่อยและการอภิปรายแลกเปลี่ยนประเด็นในเวที โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิด แผนปฏิบัติการในการพัฒนาตัวครูเองต่อการสอนเพศศึกษา ซึ่งจะเกิดขึ้นต่อไปในระยะที่ 2 ของโครงการฯ

การเชื่อมโยงความคิดจากเวทีก่อนหน้า ลำดับแรกของการประชุม ทางผู้ดำเนินการประชุมได้นำเสนอสรุปผลที่เกิดขึ้นของ 2 เวทีก่อนหน้านี้ เพื่อเป็นการเชื่อมโยงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของกระบวนการในโครงการฯ และนำความคิดของครูผู้เข้าร่วมประชุมไปสู่การผู้คุยแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นเนื้อหาที่สำคัญของการประชุมครั้งนี้ (นำเสนอเพียงหัวข้อ รายละเอียดค้นหาจากการสรุป 2 เวทีก่อนหน้านี้)

จากการสัมมนาครั้งที่ 1 เวทีสัมมนาปัญหาการเรียนรู้เพศศึกษาในเยาวชน ประเมินสภาวะการของเยาวชนในมิติทางเพศ • ด้านความรู้พื้นฐานที่มี • ด้านทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม • ด้านพฤติกรรมทางเพศที่แสดงออก สรุปแนวทางการจัดการเรียนรู้ให้เด็กเข้มแข็ง • สอนให้รู้จักตนเอง...รู้เพศตัวเองที่ชัดเจน..รู้จักการวางตัวให้เหมาะกับเพศ....รู้จักสถานะของตนเอง รู้หน้าที่ของตนเอง ให้เหมาะสมกับวัย และหมวกที่สวมอยู่ ตระหนักถึงคุณค่าของตัวเอง โดยเฉพาะผู้หญิง วางตัวให้ถูก วางตัวให้เหมือนกับเพศแม่ • รู้จักผู้อื่น...เรียนรู้เพื่อนรอบข้าง...การอยู่ร่วมกันในสังคม • รู้จักการปรับตัว...ทันเหตุการณ์...ทันการเปลี่ยนแปลง...สอนให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง • สอนด้านคุณธรรมและจริยธรรม ศาสนา • อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม เพื่อเป็นแหล่งเกาะยึดจิตใจ • รู้จักครองตน....รู้จักเอาตัวรอด จากเหยื่อของสังคม

จากการสัมมนาครั้งที่  2 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการแนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพศศึกษา หัวข้อ "เพศศึกษา เครื่องมือสร้างภูมิคุ้มกันเยาวชน" • เพศศึกษาควรสอนหรือไม่ในระดับประถม • ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชน เมื่อผู้ใหญ่หันหลังให้กับการสอนเรื่องเพศศึกษา • เรื่องที่ไม่ใช่เรื่องเพศ(การปรากฏตัวของเรื่องเพศ) • ทางออกปัญหาในบทบาทของครู

กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพศศึกษา ทบทวนตัวตนต่อการสร้างการเรียนรู้เพศศึกษาผ่าน  SWOT Analyzesis หลังจากการนำเสนอทบทวนผลความคิดจาก 2 เวทีแรกแล้ว ได้ชวนครูผู้ร่วมประชุม ร่วมกันอภิปรายถึงผลที่ได้จาการสัมมนาคราวก่อนไปใช้สอนหรือพูดคุยกับเด็ก เพื่อนำเสนอความคิดของผู้เข้าร่วมประชุมเบื้องต้น สรุปเป็นรายละเอียดได้ดังนี้ • ได้นำความความรู้จากการสัมมนา 2 เวทีที่ผ่านมาไปสอนนักเรียน แต่ไม่ได้สอนโดยตรง สอนสอดแทรกในวิชาต่างๆเช่น พละศึกษาสุขศึกษา วิทยาศาสตร์ แต่ยังคงพบเห็นพฤติกรรมเช่นเดิม การแกล้งเปิดกระโปรง ยอกล้อผู้หญิง ได้สอนแบบสอดแทรกพูดคุย แต่ยังไม่ได้ร่างเป็นหลักสูตร • ยังไม่ได้ใช้โดยตรง แต่จะทำโดยตรงให้ความรู้แนะแนวไป แต่ส่วนมากพฤติกรรมก็ยังเหมือนเดิม  เราได้ให้คำแนะนำไปพร้อมกับศึกษาไปด้วยว่าเมื่อให้คำแนะนำอย่างนี้แล้วเด็กเกิดพฤติกรรมอย่างไร มี่แนวโน้มมาทางที่ดีไหม มีบางส่วนที่มีแนวโน้มดีขึ้นมาก ไม่ค่อยออกพฤติกรรมลักษณะที่เสี่ยง • ก่อนมาสัมมนาวันนี้ได้พูดคุยกับเด็กผู้หญิงชั้น ป. 6 ตั้งใจชวนเด็กมาคุย 3 คน พอรู้ว่าเป็นเรื่องเพศศึกษาเด็กก็มากันหมด แสดงถึงความสนใจ ได้ถามเด็กว่า "ลูกคิดอย่างไรรู้สึกอย่างไรที่เราอยู่ร่วมกันอย่างนี้กับเด็กผู้ชาย ตอนนี้เราไม่เหมือนเด็กแล้วนะ รู้ไหมไม่เหมือนตรงไหน เด็กมีการพูดคุยโต้ตอบได้ดี พบความเขินอายขณะพูด แล้วถามว่าต่อ ส่วนพฤติกรรมล่ะเป็นอย่างไร จิตใจหนูเป็นอย่างไร เด็กก็ได้พูดคุยให้เราฟัง เราก็ได้สอนเด็กให้วางตัวต่อพฤติกรรมของเพศตรงข้าม ระมัดระวังตัวมากขึ้นเพราะเราเป็นสาวแล้ว และได้นำสภาพปัญหาที่ได้รับรู้จากการสัมมนาคราวที่แล้วไปเล่าให้เด็กฟัง เด็กก็ตกใจ และได้ให้กำลังใจเด็กว่า หากอนาคตใครเกิดการพลาดพลัง ขอให้นึกถึงครูคนนี้เอาไว้ พร้อมที่จะช่วยเหลือตลอดเวลาเพียงขอให้โทรหาไม่ว่าเวลาไหน เมื่อได้พูดอย่างนี้กับเด็ก เด็กก็รู้สึกอบอุ่นใจ รู้สึกมีที่พึ่ง และคิดว่า"ครูเป็นที่พึ่งได้ตลอดเวลาหากมีปัญหา" ก็เป็นสิ่งที่ได้นำจากการสัมมนาครั้งที่แล้วไปใช้กับเด็ก ณ วันนี้ • ปัญหาเรื่องเพศเป็นปัญหาโลกแตก เนื้อหาการสอนเพศศึกษาก็สอนอยูแล้ว ได้สอนให้เด็กเกิดความรู้สึกยางอาย สอนคนไม่ได้สอนหนังสือ
• พบปัญหาเด็กคลายๆกัน และพบลักษณะปัญหาที่เกินกว่าอายุ คือมีลูกก่อนวัยหลังจากออกจากโรงเรียนแล้วเด็กไปอยู่ชั้น ม.1 ทางโรงเรียนได้ได้ทำการแนะแนว พูดคุยแล้วกับเด็กผู้ปกครอง แต่ยังรู้สึกไม่เกิดผล  โชคดีของเด็กที่ฝ่ายชายรับแต่งงาน ไม่อย่างนั้นเป็นปัญหาใหญ่
• ได้ตามเด็กตั้งแต่ป.4 พบเด็กมีพฤติกรรมวัยรุ่น ผู้หญิงเป็นช่วงที่มีประจำเดือนแล้วทำตัวไม่ถูก ครูได้สอนเรื่องการดูแลตัวเองขณะมีประจำเดือน แต่มีบรรยากาศที่เพื่อนช่วยเหลือ หลังจากที่ได้สอนเรื่องนี้กับเด็ก เด็กก็พฤติกรรมเด็กดีขึ้น ดูและตัวเองมากขึ้นเห็นชัดในเรื่องการแต่งตัว ได้สอนเรื่องการทำตัวให้มีคุณค่าทั้งหญิงชาย พยายามเน้นเรื่องตรงนี้ เป็นสิ่งที่ได้ทำอยู่ ทั้งหมดของการนำไปใช้หลังจากผ่านการสัมมนามา 2 ครั้ง ปรากฏหลายแบบทั้งเป็นการสอนเป็นเนื้อหาการเรียนรู้ปรากฏในเนื้อหาสาระวิชาต่างๆ สอนสอดแทรก หรือจะเป็นลักษณะการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกับเด็ก ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็ช่วยเรื่องพฤติกรรมของเด็กได้ดีขึ้น หรืออาจจะยังพบปัญหาพฤติกรรมเช่นเดิม บางท่านก็เป็นทดสองสอนพูดคุยแล้วติดตามศึกษาพฤติกรรม ทั้งหมดเป็นการนำเสนอภาพรวมเพื่อเป็นการติดตามว่า ครูได้ใช้และเจอประสบการณ์ใหม่มากน้อยขนาดไหน พบวิธีเทคนิคหรือข้อจำกัดอะไรบ้าง คิดว่าครูแต่ละท่านพบลักษณ์ปัญญาของที่แตกต่างกัน และมีบริบทปละปัจจัยเกี่ยวข้องไม่เหมือนกัน เช่น ครอบครัวของเด็ก เรื่องของระบบโรงเรียน ส่วนของสภาพที่ตั้งอยู่ของที่อยู่อาศัย และที่สำคัญปัจจัยตัวครูเองก็ตาม ฉะนั้นอาจจะไม่มีสูตรสำเร็จที่เอามาใช้แก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง แต่การนำเสนแลกเปลี่ยนอย่างนี้จะนำไปสู่ประสบการณ์ใหม่ๆ เกิดความคิดความเข้าใจ เกิดความคิดใหม่ต่อการมองปัญหาและค้นหาการช่วยเหลือหรือสร้างการเรียนรู้เพศศึกษากับเด็ก เราปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาของเด็กคือ ครู จึงอยากจะชวนครูให้ได้มองและวิเคราะห์ให้ลึกขึ้นก่อนที่เราจะก้าวข้ามไปสู่การยกระดับการสร้างการเรียนรู้เพศศึกษาให้กับเด็ก โดยทำการวิเคราะห์ SWOT เพื่อทบทวนตัวเองถึงสิ่งที่ครูได้นำเสนอก่อนหน้านี้ ก่อนที่เราจะก้าวข้ามพัฒนาขึ้นไปต่อ
ช่วงแรกให้ครูแต่ละท่านได้มองที่ตัวเองในฐานะครูผู้สอนเรื่องเพศศึกษา โดยมอง 2 ส่วนแรกคือ
1. จุดแข็ง/จุดเด่น(Strength)
2. จุดอ่อน/ข้อด้อย(Weakness) พยายามพิจารณาให้รอบด้านของตัวเราเอง ถือว่าเป็นปัจจัยภายใน ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ความคิดและพฤติกรรม ทักษะและวิธีการที่เราทำกับเด็ก แล้วร่วมพูดคุยในกลุ่มย่อยก่อนนำเสนอแลกเปลี่ยนการวิเคราะห์ในกลุ่มใหญ่  หลังจากนั้นให้ทำการวิเคราะห์อีก 2 ส่วนคือ 3. โอกาสในการเกื้อหนุน/เสริม(Opportunity) 4. ปัญหาอุปสรรค/ภาวะคุกคาม(Threat) โดยพยายามพิจารณาถึงปัจจัยภายนอกตัวเรา ระบบที่เราทำงานอยู่ คนที่เราเกี่ยวข้อง สิ่งแวดล้อม บริบทพื้นที่ ที่มากระทำต่อเราทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและการกระทำที่ตั้งใจ แล้วพูดคุยกันในกลุ่มย่อยและแต่ละกลุ่มนำเสนอการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนกันในกลุ่มใหญ่ ซึ่งสามารถสรุปการวิเคราะห์ SWOT ของแต่ละกลุ่มได้ดังนี้

สรุปภาพรวมการวิเคราะห์ SWOT ในการทบทบทวนสภาวการณ์ของการให้การเรียนรู้เพศศึกษา จุดแข็ง/จุดเด่น(Strength)
บทบาทและบุคลิกภาพ o ทำตัวเป็นที่ปรึกษาทุกเรื่อง เป็นกันเองกับเด็ก ทำให้เด็กกล้าปรึกษา o รู้จักปรับตัวให้เข้ากับคนรอบข้าง ไม่ยึดมั่นถือมั่นเกินไป วิธีการ o ฟังความคิดของเด็ก ไม่โจมตีก่อน o สามารถแก้พฤติกรรมที่เกิดขึ้นต้นๆ o รู้จักใช้สถานการณ์จริงในการสอนเรื่องเพศศึกษา นำข่าว/ละครมาสอน o ใช้กิจกรรมตามความสนใจ ชมรม สอนสอดแทรกในทุกโอกาส o ใช้จิตวิทยาในการแก้ปัญหา ความคิด o ยึดถือศีลธรรมไว้เตือนใจตนเอง
o ไม่ชอบเที่ยวกลางคืน o ค่านิยมไม่ชอบผู้หญิงแต่งตัวชั่วผู้ชาย
จิตใจ o มีจิตที่เสียสละ
o มีความตั้งใจจริงในการชี้แนะ/สอนเรื่องเพศศึกษา o ใจดีรักเด็ก o มีความหวังดีต่อเด็ก

จุดอ่อน/ข้อด้อย(Weakness) บทบาทและบุคลิกภาพ o พูดเสียงดัง ทำให้เด็กไม่กล้าเข้าหา o รักษาความลับของเด็กไม่ได้ o ขาดความเป็นกัลยาณมิตรกับเด็ก o พูดตรงเกินไป o มักหลุดคำพูดที่ไม่ควรพูดกับเด็ก แล้วรู้สึกไม่ดีทีหลัง วิธีการ o ไม่รู้ข้อมูลจริง ขาดการศึกษาเด็กในเชิงลึก o แสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเด็กเร็วเกินไป เด็กเกิดความกลัว เข้าใจว่าครูด่า o ไม่กล้าพูดเรื่องเพศให้เด็กเข้าใจลึกซึ้ง o ครูไม่ค่อยมีเวลา ปัญหาเวลาของครอบครัวตัวเอง o พูดเรื่องเพศศึกษาน้อยเกินไปรู้ สึกว่าตัวเองไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเพศจึงไม่กล้าให้คำปรึกษาเรื่องนี้ o ไม่สามารถติดตามพฤติกรรมเด็กได้ตลอด ความคิด o มีหลักการที่ไม่ถูกต้องมากเกินไป o อคติกับเด็ก ทำให้เด็กน้อยใจรู้สึกไม่ดี o มองเรื่องการหยอกล้อเป็นเรื่องธรรมดา จิตใจ o ใจอ่อนไม่เด็ดขาด เข้าข้างเด็กเกินไป

โอกาสในการเกื้อหนุน/เสริม(Opportunity)   (Threat) เชิงโครงสร้างสังคม o ความเชื่อเรื่องเพศศึกษาของสังคมพัฒนาขึ้นมากกว่าแต่ก่อน ผู้ปกครองยอมรับกันมากขึ้น สมัยก่อนชุมชนไม่ยอมรับ
o เศรษฐกิจดีขึ้นเป็นโอกาสด้านที่ในการให้การศึกษาเรื่องนี้ o การศึกษาของคนไทยเพิ่มขึ้น มีความเข้าใจมากขึ้น o มีการปรับปรุงกฎหมายเพิ่มขึ้น o หลักสูตรเปิดให้บูรณาการ สอนในวิชาไหนก็ได้ สื่อ o IT ช่วยในการเรียนรู้เรื่องนี้
o ปัจจุบันโรงเรียนมีสื่อITเรียนรู้มากขึ้น ความร่วมมือช่วยเหลือ o มีองค์กรเอกชนเข้ามาช่วยความร่วมมือ o ชุมชนให้ความร่วมมือดี ผู้ปกครองบางส่วนเข้าใจเรื่องนี้ดี o ถ้าครอบครัวเป็นตัวอย่างที่ดีก็จะเป็นการดีสำหรับเด็กในการเรียนรู้เรื่องนี้ o ผู้บริหารมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนอย่างมากในสอนเรื่องนี้ o คณะครูให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก


ปัญหาอุปสรรค/ภาวะคุกคาม ทางสังคม o ขัดกับวัฒนธรรมท้องถิ่น บางชุมชนไม่อยากพูดเรื่องนี้ o สื่อมีการชี้นำความคิดเรื่องนี้กับเด็กมาก o สื่อเป็นอุปสรรคอย่างมาก ครอบครัว o ครอบครัวเป็นอุปสรรคอย่างมากในการให้ความรู้/สอนเด็กเรื่องนี้ พ่อแม่ขาดความรู้ และพฤติกรรม สอนคนละอย่างกับโรงเรียน o เศรษฐกิจของครอบครัว เป็นอุปสรรคอย่างมากในการดูแลลูกเรื่องนี้ o ความไม่ตระหนักของผู้ปกครองต่อเรื่องเพศศึกษา เอาหนังโป๊มาดูไม่เก็บให้ดี โรงเรียน o ครูมีงานสอนเยอะ o ขาดการมีส่วนร่วมในโรงเรียน หลายคนไม่กล้าพูดเรื่องนี้ o ขาดการติดตามเด็ก o ผู้บริหารให้ความสำคัญน้อย
จากการนำเสนอสรุปการวิเคราะห์SWOT ของครูทั้งหมด ทำให้คณะครูผู้เข้าร่วมประชุมได้เห็นถึงภาพรวมที่เกิดขึ้นกับตนเองที่มีปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยด้านบวกด้านลบที่เกี่ยวข้องต่อเรื่องการสอนเพศศึกษา ลำดับต่อไปชวนครูให้ช่วนกันคิดต่อว่า จากสภาวะที่เป็นอยู่นี้เราจะก้าวข้ามได้อย่างไร โดยพิจารณาจากSWOT ได้ร่วมกันคิดมากก่อนหน้านี้ แล้วกำหนดการดำเนินงานที่เป็นปัจจัยนำไปสู่การพัฒนาก้าวข้ามจากสภาวะเดิม โดยครูแต่ละกลุ่มร่วมกันคิดใน 2 หัวข้อ คือ เราจะก้าวข้ามจากเดิมต้องทำอย่างไร และ แผนปฏิบัติที่เกิดขึ้นคืออะไร  แต่ละกลุ่มนำเสนอได้ดังนี้

กลุ่ม 1 เราจะก้าวข้ามจากเดิมต้องทำอย่างไร แผนปฏิบัติการที่เกิดขึ้นคืออะไร 1. สร้างความตระหนักให้ความสำคัญในเรื่องเพศศึกษา 2. ให้การศึกษาโดยให้ความรู้ ความเข้าใจอย่างชัดเจน 3. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชนแบบการมีส่วนร่วม 4. ลดภาระงานอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอน เช่น งานกระทรวงสาธารณสุข 5. นำเสนอสื่อที่เหมาะสมและสร้างสรรค์ 6. จากข้อ 1-5 เป็นการพัฒนาทั้งองค์กร 1. ศึกษาเด็กเป็นรายครอบครัว รายบุคคลในเชิงประจักษ์ 2. มีผู้รับผิดชอบเรื่องนี้โดยเฉพาะอย่างจริงจัง 3. จัดทำโครงการบรรจุลงในแผนปฏิบัติการประจำปี เช่น โครงการอบรมวันสุดสัปดาห์ กิจกรรมโฮมรูม/แนะแนว กิจกรรมวิถีพุทธ กิจกรรมเข้าค่ายจริยธรรม เป็นตน
4. เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ 5. จัดซื้อจัดทำสื่อที่สร้างสรรค์ 6. จัดนิทรรศการเรื่องเพศศึกษา

กลุ่ม 2 เราจะก้าวข้ามจากเดิมต้องทำอย่างไร แผนปฏิบัติการที่เกิดขึ้นคืออะไร 1. ปรับวิธีการพูดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 2. สร้างความเชื่อมั่นมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี 3. ศึกษาหาความรู้เรื่องเพศศึกษาให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง 4. ทำให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจและปรับเปลี่ยนความเชื่อที่ถูกต้อง 5. กำหนดเวลาเพื่อจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาแก่นักเรียน 1. ครูพัฒนาตนเองโดยการเข้ารับการอบรมเรื่องเพศศึกษา 2. ประชุมผู้ปกครองเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องการสอนเพศศึกษา 3. เชิญวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน 4. จัดกิจกรรมเสียงตามสาย

กลุ่ม 3 เราจะก้าวข้ามจากเดิมต้องทำอย่างไร แผนปฏิบัติการที่เกิดขึ้นคืออะไร 1. ใช้ระบบดูแลนักเรียน 2. ใช้สื่อที่เด็กสนใจ 3. สร้างประสบการณ์ให้ครูเรื่องเพศศึกษา 4. ใช้จิตวิทยาในการพัฒนาเด็ก 5. ใช้คุณธรรมและจริยธรรมต่อเด็ก 6. อย่าให้มีเวลาว่างมากเกินไป 1. ศึกษาเรื่องการใช้ระบบดูแล 2. ผลิตสื่อจัดหาสื่อที่เด็กสนใจ เช่น ละคร หุ่น ฯลฯ 3. ให้ครูศึกษาอบรมดูงาน 4. ศึกษาอบรมจากผู้เชี่ยวชาญ 5. ฝึกจิตให้หนักแน่นและมั่นคง(พัฒนาจิต) 6. จัดกิจกรรมตามความถนัดสนใจ

กลุ่ม 4 เราจะก้าวข้ามจากเดิมต้องทำอย่างไร แผนปฏิบัติการที่เกิดขึ้นคืออะไร 1. ทำจิตใจให้มั่นคงหนักแน่น 2. เต็มใจที่จะแก้ปัญหาและมองปัญหาทุกปัญหาอย่างมีทางแก้ 3. ให้กำลังใจกับเด็กไม่กล่าวโทษ 4. วางตัวให้เด็กไว้วางใจ 5. เก็บความลับของเด็กให้ได้ 1. นั่งสมาธิเข้าร่วมอบรมสัมมนา 2. ศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่างๆ 3. สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น 4. ทำกิจกรรมร่วมกันกับนักเรียน 5. ศึกษาความรู้จากนักจิตวิทยา 6. ทำงานอดิเรกร่วมกิจกรรมนันทนาการ 7. กิจกรรมทัศนศึกษา 8. ผลิตสื่อประกอบการสอนเรื่องเพศศึกษา

สรุปแนวทางหลักที่สามารถยกระดับการดำเนินงานจัดการเรียนรู้เพศศึกษาแก่ผู้เรียน การสร้างความตระหนัก สร้างความรู้ความเข้าใจ 1. สร้างความตระหนักให้ความสำคัญในเรื่องเพศศึกษา 2. ให้การศึกษาโดยให้ความรู้ ความเข้าใจอย่างชัดเจน 3. ศึกษาหาความรู้เรื่องเพศศึกษาให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง 4. สร้างประสบการณ์ให้ครูเรื่องเพศศึกษา ด้านการดำเนินงานเชิงระบบในโรงเรียน 5. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชนแบบการมีส่วนร่วม 6. ลดภาระงานอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอน เช่น งานกระทรวงสาธารณสุข 7. กำหนดเวลาเพื่อจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาแก่นักเรียน 8. ใช้ระบบดูแลนักเรียน 9. ทำให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจและปรับเปลี่ยนความเชื่อที่ถูกต้อง 10. อย่าให้มีเวลาว่างมากเกินไป ด้านสื่อการเรียนรู้ 11. นำเสนอสื่อที่เหมาะสมและสร้างสรรค์ 12. ใช้สื่อที่เด็กสนใจ ด้านพัฒนาพฤติกรรมการปฏิบัติ 13. ปรับวิธีการพูดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 14. สร้างความเชื่อมั่นมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี 15. ใช้จิตวิทยาในการพัฒนาเด็ก 16. ใช้คุณธรรมและจริยธรรมต่อเด็ก 17. ทำจิตใจให้มั่นคงหนักแน่น 18. เต็มใจที่จะแก้ปัญหาและมองปัญหาทุกปัญหาอย่างมีทางแก้ 19. ให้กำลังใจกับเด็กไม่กล่าวโทษ 20. วางตัวให้เด็กไว้วางใจ 21. เก็บความลับของเด็กให้ได้

สรุปแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับแนวทางการยกระดับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษา แผนการสร้างความตระหนัก สร้างความรู้ความเข้าใจของผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพศศึกษา 1. เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ 2. ครูพัฒนาตนเองโดยการเข้ารับการอบรมเรื่องเพศศึกษา 3. ศึกษาอบรมจากผู้เชี่ยวชาญ 4. ศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่างๆ 5. สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น แผนด้านการพัฒนาศักยภาพผู้สอน 6. ให้ครูศึกษาอบรมดูงาน 7. ฝึกจิตให้หนักแน่นและมั่นคง(พัฒนาจิต) 8. นั่งสมาธิเข้าร่วมอบรมสัมมนา 9. ศึกษาความรู้จากนักจิตวิทยา 10. ทำงานอดิเรกร่วมกิจกรรมนันทนาการ 11. กิจกรรมทัศนศึกษา แผนด้านการส่งเสริมจัดการศึกษา 12. ศึกษาเด็กเป็นรายครอบครัว รายบุคคลในเชิงประจักษ์ 13. มีผู้รับฟิดชอบเรื่องนี้โดยเฉพาะอย่างจริงจัง 14. จัดทำโครงการบรรจุลงในแผนปฏิบัติการประจำปี เช่น โครงการอบรมวันสุดสัปดาห์ กิจกรรมโฮมรูม/แนะแนว กิจกรรมวิถีพุทธ กิจกรรมเข้าค่ายจริยธรรม เป็นตน
15. ประชุมผู้ปกครองเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องการสอนเพศศึกษา 16. เชิญวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน 17. ศึกษาเรื่องการใช้ระบบดูแล 18. จัดกิจกรรมตามความถนัดสนใจ 19. ทำกิจกรรมร่วมกันกับนักเรียน แผนด้านการสร้างสื่อการเรียนรู้ 20. จัดซื้อจัดทำสื่อที่สร้างสรรค์ 21. จัดนิทรรศการเรื่องเพศศึกษา 22. จัดกิจกรรมเสียงตามสาย 23. ผลิตสื่อจัดหาสื่อที่เด็กสนใจ เช่น ละคร หุ่น ฯลฯ 24. ผลิตสื่อประกอบการสอนเรื่องเพศศึกษา
อภิปรายแลกเปลี่ยน นอกจากสิ่งที่ครูเข้าร่วมประชุมสัมมนาได้นำเสนอตลอดทั้งวันแล้ว ขอให้ที่ประชุมได้อภิปรายแลกเปลี่ยนกันวงกว้าง o อยากให้ทางผู้จัดได้เชิญผู้บริหารเข้าร่วมการอบรมบาง จะได้เกิดความเข้าใจตรงกันและเห็นความสำคัญต่อเรื่องนี้เหมือนกัน ไม่อยากให้ผู้บริหารทำได้เพียงตามหน้าที่ หรือ ต้องทำตามที่เขตสังการเท่านั้น เพราะเมื่อเกิดปัญหากาบเด็กแล้วได้ร่วมกันคิดร่วมกันแก้ปัญหา ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของครูฝ่ายเดียวเพราะไม่ใช่หน้าที่ผู้บริหาร หรือสั่งการให้ครูรับผิดชอบ หรือซัดทอดไปที่ครอบครัวเด็ก แทนที่เด็กจะหลุดจากปัญหากลายเป็นผลักเด็กไปให้ลึกกว่าเดิมอีก o สิ่งที่กลุ่มมานีมานะกำลังทำอยู่นี้อยากให้ทำต่อไป ขยายจากประถมไปเป็นมัธยมต้นและมัธยมปลาย เพราะปัญหาหนักอยู่ในวัยนั้น ทำทั้งผู้บริหาร ครูและนักเรียน
o เวทีครั้งเป็นกึ่งสรุปถอดบทเรียน
o ในเริ่มแรกครูสอนเด็กแล้วมักจะเจอพฤติกรรมเดิมที่สอนไป เหมือนกับเด็กไม่จำ แต่พอมาเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา ก็ได้ใช้วิธีการหลากหลาย มีความเข้าใจว่าเด็กก็คือเด็ก ใจเย็นขึ้นไม่เหมือนก่อนที่อดดุเด็กไม่ได้ ได้แนวคิดต่างๆจากการสัมมนาแล้วทำให้กิจกรรมการสอนเรื่องนี้ดีขึ้น และผู้บริหารให้การสนับสนุนเรื่องนี้มาก o มีปัญหาคาใจ วันนี้ยังไม่เกิด เมื่อเกิดปัญหาทางเพศขึ้นเราจะช่วยเด็กอย่างไร
o เราที่จะช่วยได้อย่างไร อาจจะไม่ใช่เป็นการฝากความหวังกับใคร แต่ต้องมองว่าเราจะช่วยกันได้อย่างไร เครือข่ายอาจจะเป็นคำตอบ
o การทำงานในลักษณะอย่างนี้ เราเจอเพื่อนครูด้วยกันที่คิดเรื่องนี้เหมือนกันเพราะมันถูกพิสูจน์จากการร่วมเวทีตลอดกระบวนการของโครงการ แยก 2 ประเด็น o ความมั่นใจของครูยังไม่เกิดขึ้นมากนั้น ในเรื่องการสอนเพศศึกษาแล้วจะช่วยชีวิตเด็กได้จริงหรือ โครงการฯในระยะที่1 นี้ยังไม่ได้สร้างความมั่นใจดังกล่าวกับครู แต่จะเกิดผลกับครูและปรากฏเด่นชัดมากขึ้นในระยะที่ 2 ของโครงการฯ ตามแผนปฏิบัติการที่ช่วยกันนำเสนอมาแล้ว
o การแก้ช่วยเหลือในกรณีที่เด็กเกิดปัญหาแล้วไม่รู้จะจัดการอย่างไร ระบบการส่งต่อจะเป็นวิธีการที่ช่วยเราจัดการในภาระที่เหนือกำลังและบทบาทหน้าที่ การประสานกับหน่วยงานทางสังคมต่างๆ เช่น มูลนิธิที่ช่วยเหลือเด็ก องค์ที่ช่วยเหลือเด็กทั้งภาครัฐและเอกชน ฉะนั้นเราอาจจะต้องมีแหล่งข้อมูลในมือและเชื่อมต่อประสานกันในภาคสังคม ที่นอกเหนือจากกลุ่มครูด้วยกัน o หากกลุ่มครูได้ลงมือทำการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาแล้วเกิดผลที่น่าสนใจ การนำเสนอในผู้บริหารรับรู้ก็เป็นการสร้างความเข้าใจต่อเรื่องนี้ได้อีกวิธีการหนึ่ง อาจจะจัดร่วมกันเป็นงานมีครูหลายท่านจากหลายโรงเรียนนำเสนอวิธีการเรียนรู้เรื่องนี้ เชิญเขตเชิญผู้บริหารเข้าร่วมชมผลงานของเราเอง หรือชมรมผู้ปกครองเข้ารับฟัง นำเสนอกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาจนำไปสู่การนำเสนอเชิงนโยบายได้ o อยากให้งานของเราขยายวงการขึ้นไป
o โดยเพิ่มขยายครูเข้ารวมให้ทั่วจัดอบรมเป็นรุ่นๆ
o ชวนกลุ่มนักเรียนเป็นระดับมัธยมชายหญิงมาให้ความคิดทัศนคติของเขา o เชิญแพทย์ในงานที่เกี่ยวกับเพศศึกษามาร่วมรับรู้และให้ความรู้กับเรา o อยากให้นักผลิตสื่อมารับรู้อย่างเรา และนำเสนอเนื้อหาดีๆ o เราเองทุกคนช่วยสะท้อนให้กับผู้บริหารของตนเอง และอยากให้กลุ่มครูตรงนี้ตั้งเป็นชมรมขึ้นมาที่จะช่วยเหลือกันเรื่องนี้ o ชมรมที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นชมรมช่วยเหลือเด็ก กว้างมากขึ้นกว่าเรื่องเพศศึกษา มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สามารถช่วยเหลือสนับสนุนได้ o โอกาสที่จะเชิญผู้บริหารเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้คงลำบาก แต่ทุกเดือนจะมีการประชุมของผู้บริหารทุกโรงเรียนในเขต  ฉะนั้นทางกลุ่มสามารถเข้าไปนำเสนอให้ผู้บริหารรู้ได้โดยใช้โอกาสในการประชุมของเขต

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว