สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

ผลการดำเนินโครงการ

photo  , 248x186 pixel , 34,617 bytes.

การประเมินผลโครงการ โครงการได้นำวิธีการวิเคราะห์หลังปฏิบัติการ(After Action Review) มาประยุกต์ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติการของโครงการเพื่อตรวจสอบและค้นหาบทเรียนจากการดำเนินงาน และข้อมูลสะท้อนกลับปรับตัว ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงผลการปฏิบัติงานโครงการ ให้การดำเนินงานในระยะต่อไปให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

การวิเคราะห์หลังปฏิบัติการ กระทำทันทีหลังภารกิจเสร็จสิ้นและได้มีการทบทวนความสำเร็จและความล้มเหลว ทบทวนเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีกในการทำงานต่อไปในอนาคต ขณะเดียวกันก็คงไว้ซึ่งวิธีการที่ดีอยู่แล้ว พร้อมทั้งจะหาทางที่จะทำให้ดีขึ้นในคราวต่อไป โดยดำเนินงานอยู่บนแนวคิดของการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา

การวิเคราะห์หลังปฏิบัติการของโครงการนี้ ได้นำกำหนดขอบเขตการการวิเคราะห์คือ การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการของโครงการ ความสัมพันธ์และบริบทที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน การบรรลุผล บทเรียนที่เกิดขึ้น และข้อเสนอแนะที่เจาะจง

สรุปวิเคราะห์หลังการปฏิบัติงาน ได้ดังนี้ สรุปวิเคราะห์หลังการปฏิบัติโครงการ(After Action Review) สิ่งที่คาดหวังจากการดำเนินงาน
• เกิดรูปแบบการเรียนรู้เพศศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับนักเรียนประถม • ครูกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมเกิดการเรียนรู้ต่อปัญหาทางเพศของเยาวชน และตื่นตัวที่จะร่วมกันแก้ปัญหา • ครูจะได้เห็นตัวอย่างของการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้กิจกรรมทางการละคร เป็นเทคนิคการเรียนรู้ • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของโครงการ เพื่อสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการทำงานของครู

สิ่งที่เกิดขึ้นจริงของการดำเนินงาน
• เกิดรูปแบบการเรียนรู้เพศศึกษาที่มีลำดับกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน 16 คาบเรียน ซึ่งกระบวนการเรียนรู้นี้ได้อาศัยเทคนิคการเรียนรู้ที่เรียกว่า ละครการศึกษา ซึ่งเกิดเป็นแผนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีเนื้อเพศศึกษาที่ได้เรียนรู้สอดคล้องกับความสนใจและตรงตามความต้องการของผู้เรียน ซึ่งสามารถช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาได้ • คณะครูที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการเกิดความตื่นตัวและใสใจต่อปัญหาและพฤติกรรมทางเพศอของเด็ก ความตื่นตัวและใสใจดังกล่าวเกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกระบวนการทำงานของโครงการ
• เกิดแผนปฏิบัติการที่นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของครูในการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาได้แก่ - แผนการสร้างความรู้ความเข้าใจของผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพศศึกษา - แผนด้านการพัฒนาศักยภาพทั่วไปของผู้สอน
- แผนด้านการส่งเสริมจัดการศึกษา - แผนด้านการสร้างสื่อการเรียนรู้เพศศึกษา แผนปฏิบัติการนี้เกิดจากการมีส่วนร่วมของของครูที่เข้าร่วมโครงการและร่วมกำหนดแผนดังกล่าวเพื่อยกระดับการสอนของตนเองในเรื่องนี้ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่จะแก้ปัญหาของเยาวชนในบทบาทของตนเอง บทเรียนที่ได้จากการปฏิบัติงาน
จุดเด่น • เป็นการดำเนินงานที่อาศัยทุนที่มีอยู่ในพื้นที่เป็นหลัก ได้แก่ บุคลากรที่ทำงานในภาคสังคมให้แนวคิดในการจัดการเรียนรู้เพศศึกษา ประสบการณ์จากทำงานของกลุ่มมานีมานะซึ่งเป็นองค์หลักในพื้นที่สามารถก่อให้เกิดการทำงานเชิงกระบวนการพื้นที่ได้ เครือข่ายการทำงานด้านสุขภาพในจังหวัด โอกาสของเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงตัวงานในวิทยาลัยวันศุกร์ เป็นต้น ซึ่งสะท้อนถึงการดำเนินที่อยู่บนพื้นฐานการใช้ทุน(ในรูปแบบต่างๆ)ที่มีอยู่ในพื้นที่ให้เกิดผลกับโครงการ • กลวิธีการดำเนินงานเชิงกระบวนการของโครงการ สามารถสร้างแนวร่วมในขับเคลื่อนเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก ซึ่งเป็นมิติใหม่ในพื้นที่โดยเฉพาะกับงานด้านการศึกษา
• ครูที่เข้าร่วมกิจกรรม มาร่วมโดยหัวใจมากกว่าเข้าร่วมกิจกรรมโครงการตามคำสั่งที่ถูกสั่งการ เมื่อดำเนินงานมาถึงช่วงท้ายโครงการ ทำให้โครงการพบเพื่อนครูตัวจริงที่อยากจะร่วมโครงการต่อ เพื่อช่วยกันช่วยแก้ปัญหาของเด็ก • รูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นมีผลและตอบสนองต่อเด็กได้เป็นอย่างดี สร้างแนวคิดในเชิงทัศนคติที่สำคัญต่อการเข้าใจในประเด็นต่างๆของเพศศึกษาที่เด็กได้เรียนรู้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่ปัจจัยและองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้ • การดำเนินงานของแต่และแผนงานสามารถเชื่อมโยงการทำงานด้วยกันได้ โดยการนำข้อมูลที่เกิดขึ้นของแต่ละแผนมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินของแผน ทำให้การดำเนินงานไม่ได้แยกส่วนตามแผน

จุดด้อย • การดำเนินไม่สามารถประสานงานให้เขตพื้นที่การศึกษาร่วมมือกันเนินโครงการในการดำเนินงานได้ เนื่องจากการเกิดขึ้นของโครงการเกิดจากการทำงานของกลุ่มมานีมานะ ไม่ได้เริ่มต้นพัฒนาโครงการร่วมกันตั้งแต่แรกเริ่มโครงการ ฉะนั้นการมีส่วนร่วมของเขตพื้นที่จึงมีไม่มากในการดำเนินงานครั้งนี้
• ผู้บริหารไม่เข้าใจการมาร่วมกิจกรรมของครู และไม่เข้าใจรูปแบบการดำเนินงานของโครงการ ทำให้ครูถูกมองได้ได้ง่ายว่า ชอบเข้าอบรมและทำกิจกรรมมากกว่าการสอน
• ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของโครงการเชื่อมโยงกันเพียงระดับการดำเนินงานของโครงการ แต่ไม่ได้เกิดเป็นผลปฏิบัติที่เชื่อมโยงกัน ทำให้ครูซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายมองไม่เห็นตัวอย่างการเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษาที่เป็นรูปธรรมและการรอคอยเทคนิคการสอนเรื่องเพศศึกษาด้วยละครไม่ได้รับการตอบสนอง
• รูปแบบการดำเนินงานเพื่อการขับเคลื่อนในเรื่องนี้ ต้องการเวลาในการทำงานร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาก เพราะเนื่องจากการทำงานโครงการอาศัยแนวคิดการมีส่วนร่วม ความเข้าใจและความพร้อมของผู้ร่วมโครงการจึงถูกเรียกร้องจากการดำเนินงานเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้เข้าร่วมไม่คุ้นชินกับรูปแบบการดำเนินงานอย่างนี้มากนัก ก่อให้เกิดผลกระทบที่ตามมาคือ กลุ่มเป้าหมายบางส่วนไม่สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการได้ทุกขั้นตอน

ข้อเสนอแนะที่เฉพาะเจาะจง • การดำเนินงานในระยะต่อไปของโครงการ ควรออกแบบการทำงานให้เกิดการมีส่วนร่วมของเขตพื้นที่การศึกษา และทำงานร่วมกันมากขึ้น เพื่อเสริมการทำงานให้เกิดพลังผลักดันให้มีการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาในโรงเรียน
• เพิ่มเติมกิจกรรมงานส่วนของการทำความเข้าใจกับผู้อำนวยการของแต่ละโรงเรียน และประสานความร่วมมือกันในการดำเนินงานส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาของครูมากยิงขึ้น • สร้างการทำงานร่วมกันกับนักวิชาการหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสายงานที่เกี่ยวข้องกับเพศศึกษามากยิ่งขึ้น เช่น จิตแพทย์ สูตินรีแพทย์ เป็นต้น เพื่อเสริมตรวจสอบความรู้ทางเรื่องเพศศึกษา • ประสานผลลัพธ์ของแผนงานทั้งสองที่เกิดขึ้นจากโครงการ ให้เกิดการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาที่เป็นรูปธรรม โดยนำรูปแบบการเรียนรู้เพศศึกษาที่พัฒนาขึ้นมาได้ เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนของตนและพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูให้สอดคล้องกับองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้เพศศึกษาที่พัฒนาขึ้นมาได้ • สร้างอุปกรณ์สื่อการสอนเพศศึกษาสำหรับครู ในรูปแบบต่าง เช่น ภาพสื่อประกอบการสอน วิดิทัศน์เกี่ยวกับเพศศึกษา สื่อวัสดุการสอนเพศศึกษา เป็นต้น เพื่อลดข้อจำกัดการไม่มีอุปกรณ์สื่อการสอนเพศศึกษาของครู และเป็นการสร้างปัจจัยเสริมให้มากขึ้น

แนวทางการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง 1. ขยายผลของรูปแบบการเรียนรู้เพศศึกษาด้วยกิจกรรมทางการละครที่ได้รับการพัฒนาแล้วให้กับครู ได้เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไปกับเด็กของตน 2. ประสานงานกับองค์กรสนับสนุนต่างๆ ให้เกิดการร่วมกันผลักดันสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ(เป็นผลลัพธ์ของโครงการระยะที่ 1)ที่เกิดขึ้น ในระยะที่ 2 ของโครงการต่อไป 3. กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานในระยะต่อไปให้เกิดการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากทำงานของโครงการ 4. ดำเนินงานกระตุ้นและสร้างบริบทการพัฒนาครู เพื่อเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการจัดการเรียนรู้ของครู

ข้อเสนอแนะโครงการ ข้อเสนอเครือข่ายระดับพื้นที่ 1. นอกจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแล้ว การทำงานโครงการได้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อครูที่เข้าร่วมโครงการ ครูมีความตื่นตัวต่อประเด็นการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาของเด็กเป็นอย่างมาก  หน่วยงานหรือองค์กรในพื้นที่ที่มีภารกิจในการจัดการเครือข่ายสุขภาพ ควรสนับสนุนให้เกิดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการที่เกิดขึ้นเป็นผลลัพธ์โครงการ เพื่อให้เกิดการทำงานต่อเนื่อง จะนำไปสู่การยกระดับการปฏิบัติงานของครูในการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาให้กับเด็ก และสร้างความสัมพันธ์กันระหว่างครูเป็นพื้นฐานของเครือข่ายครูจัดการเรียนรู้เพื่อเด็ก 2. การจัดการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อชีวิตโดยเฉพาะเรื่องเพศศึกษานี้ ต้องการการสนับสนุนและการทำงานร่วมกันกับภาครัฐในการผลักดันให้เกิดการจัดการเรียนรู้ที่มีความหมายเพื่อเด็ก โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้องประสานการร่วมมือและทำงานร่วมกันที่นำไปสู่ในการยกระดับของครูในการจัดการเรียนรู้เรื่องดังกล่าว 3. เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา ควรนำผลที่เกิดขึ้นจาการดำเนินงานนี้ ผลักดันให้เกิดเป็นการทำงานเชิงยุทธศาสตร์ของพื้นที่ขึ้น เนื่องด้วยปัจจัยที่มีความพร้อมหลายประการที่เกิดขึ้นจากโครงการ โดยเฉพาะ ความตื่นตัวของแนวร่วมครูในการดำเนินงาน ซึ่งมีแนวโน้มก่อให้เกิดการปฏิบัติขับเคลื่อนสู่วงกว้างได้จริง

ข้อเสนอเชิงนโยบาย 1. สนับสนุนให้เกิดการทำงานในเชิงกระบวนการกับระบบโรงเรียนและครู สำหรับการดำเนินงานการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนผ่านมิติทางการศึกษา ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการทำงานในเชิงกระบวนการกับระบบโรงเรียนและครู และมีส่วนร่วมที่หลากหลายในพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ฝ่ายเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเด็ก เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือ ความรู้และพลังในการดำเนินงานสร้างบทเรียนและองค์ความรู้จากประสบการณ์ของครูผู้สอน

  1. พัฒนาศักยภาพของครูให้สามารถจัดการเรียนการสอนที่สร้างภูมิคุ้มกันในชีวิตของเด็กได้ สำหรับการพัฒนาศักยภาพของครูให้สามารถจัดการเรียนการสอนที่สร้างภูมิคุ้มกันในชีวิตของเด็กได้นั้น หัวใจดังกล่าวอยู่ที่ ต้องยกระดับการความเข้าใจและศักยภาพในเชิงเนื้อหาและกลยุทธ์ของครูให้สูงขึ้น และมีคักยภาพในการติดตามความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้น โดยมีระบบและการบริหารงานที่เอื้อหนุนให้ครูเกิดการดำเนินที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็ก

  2. ผลัดดันให้เกิดสื่อเรียนรู้เพศศึกษาในหลากรูปแบบ นอกจาการเรียนการสอนในโรงเรียนแล้ว ควรสนับสนุนให้เกิดสื่อการเรียนรู้เพศศึกษาที่มีหลากหลายรูปแบบ เช่น นิทาน หนังสือภาพ โปสเตอร์การเรียนรู้ สารคคีสั้นสำหรับเยาวชน เป็นต้น เพื่อเกิดช่องทางการรับรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในชีวิตประจำวันของเด็ก

Relate topics

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว