สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

รายงานฉบับสมบูรณ์ บทที่ 4

by wanna @28 เม.ย. 49 15:26 ( IP : 58...99 ) | Tags : สานสายใยเพื่อสุขภาพ
photo  , 230x173 pixel , 36,135 bytes.

บทที่ ๔ การประเมินผลโครงการ

การดำเนินโครงการสานสายใยเพื่อสุขภาพมีการวางแผนในด้านการสรุปและประเมินผลไว้ว่าจะดำเนินการสรุปผลโดยใช้เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นบทสรุปของแต่ละแผนงานย่อย และสรุปในภาพรวมอีกครั้งตามที่เห็นเหมาะสม
จากที่วางแผนไว้ว่าจะมีการสรุปเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไว้ดังนี้

๑. เวทีออกกำลังกายเพื่อสุขภาวะ (เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๗) ๒. เวทีนักสิ่งแวดล้อมศึกษา (เดือนธันวาคม ๒๕๔๗) ๓. เวทีเครื่องดื่มสุขภาพ  (เดือนมกราคม ๒๕๔๘) ๔. เวทีอาหารสุขภาพ  (เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๘) ๕.    เวทีขุดทองจากมูลฝอย (เดือนมีนาคม ๒๕๔๘) ๖.    เวทีสุขภาวะชุมชน (เดือนเมษายน ๒๕๔๘) แต่เมื่อดำเนินงานไปในขั้นการลงมือปฏิบัติก็ได้พบปัญหาที่ไม่สามารถดำเนินการขั้นสรุปได้ตามแผน เนื่องจากช่วงระยะเวลาของแต่ละแผนงานมีการปรับเปลี่ยนไปตามกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนและชุมชน แต่อย่างไรก็ตามก็สามารถให้แผนงานย่อยสรุปงานโดยใช้กระบวนการเวทีได้เช่นเดิมเพียงแต่ปรับเรื่องและเวลาให้เหมาะสม

ผลจากการสรุปงานจากเวทีต่างๆ มีดังนี้ ๑. เวทีเสวนากีฬากับสุขภาพ  วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘  ณ ห้องโสตทัศนูปกรณ์ โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์  มีผู้เข้าร่วมที่เป็นนักเรียนแกนนำจากกีฬาประเภทต่างๆ จำนวน ๖๒ คน และครูผู้ร่วมเสวนาจำนวน ๕ คน ผลสรุปจากเวที มีดังนี้ ๑.๑  นักเรียนเสนอให้มีการจัดกิจกรรมออกกำลังกายสำหรับนักเรียนและ/หรือประชาชน อย่างน้อย ๓ วัน ต่อสัปดาห์ ๑.๒  โรงเรียนมีสถานที่เพียงพอและเอื้อต่อการออกกำลังกายของบุคลากรทุกคน ทั้งนักเรียนและประชาชน จนโรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ได้รับสมญานามจากชุมชนพะตงว่า "เป็นปอดของคน-    พะตง" เพราะมีสถานที่เหมาะสมในการออกกำลังกายของประชาชนในช่วงเช้ามืดหรือช่วงเย็น  ตลอดจนมีอุปกรณ์การออกกำลังกายที่บริการสมาชิกในชุมชนได้ด้วย ได้แก่ ห้องฟิตเนสของโรงเรียน สนามฟุตบอล สนามบาสเกตบอล  ยิ่งทำให้ชุมชนมีความพึงพอใจในการให้บริการชุมชนด้านออกกำลังกาย ๑.๓  นักเรียนได้รับการทดสอบสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์มาตรฐานของสถานศึกษา พบว่าร้อยละ ๖๐  ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จึงทำให้ทีมแกนนำมีความตั้งใจในการดำเนินงานเรื่องรณรงค์การออกกำลังกายให้มากยิ่งขึ้นเพื่อให้จำนวนร้อยละของผู้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานในนักเรียนและบุคลากรมีจำนาวนมากขึ้นกว่าเดิม ๑.๔  นักเรียนแกนนำออกกำลังกายได้จัดกลุ่มกีฬาที่สนใจจำนวน ๑๔ ประเภท อาทิ ฟุตบอล ,ฟุตซอล ,บาสเกตบอล , วอลเลย์บอล , ตะกร้อวง , เดิน-วิ่ง , เซปักตะกร้อ , เปตอง , Open Dance , ฟิตเนส , แบดมินตัน , ลีลาศ , กีฬาพื้นบ้าน , โยคะ เป็นต้น โดยแต่ละประเภทจะมีนักเรียนผู้รับผิดชอบหลักเพื่อดำเนินการรับสมัครสมาชิกผู้สนใจอย่างต่อเนื่อง ๑.๕ ข้อเสนอแนะจากการจัดกลุ่มกีฬาตามข้อ ๑.๔ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการขอสนับสนุนอุปกรณ์ จึงทำให้โรงเรียนและทีมทำกระบวนการได้เสนอปรับวิธีคิดให้แกนนำนักเรียนมุ่งประเด็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพโดยไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์การกีฬาให้มากที่สุด เพราะเราต้องคิดไว้เสมอว่าการออกกำลังกานต้องสามารถกระทำได้ทุกที่ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียนหรือ ที่บ้าน  จนเวทีได้ข้อสรุปว่า การเดิน-วิ่ง เป็นการออกกำลังกายที่กระทำได้เป็นอันดับแรก  จึงทำให้โรงเรียนมุ่งมาที่การประเมินผลในรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาในประเด็นนี้กันทุกระดับชั้น  และโรงเรียนมีการจัด เดิน-วิ่งเพื่อเทิดพระเกียรติในวันสำคัญต่างๆ ขององค์พระประมุขของเรา ทำให้บุคลากรมีการตื่นตัวและมาร่วมกิจกรรมกันมากขึ้น ๑.๖  ทีมบุคลากร(ครูและชุมชน) ได้ทำกิจกรรมออกกำลังกายโดยการลีลาศ ทุกวันพฤหัสบดี  ทำให้บุคลากรที่ต้องการออกกำลังกายสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพราะไม่ต้องหักโหมมากเกิน กอปรกับมีเพลงประกอบทำให้เพลิดเพลินแล้วได้ออกกำลังกายไปในตัว และเป็นการฟื้นฟูกิจกรรมเข้าจังหวะที่ค่อนข้างหายไปจากวงการกีฬาในโรงเรียน ๑.๗  ทีมบุคลากรและนักเรียนมีความพอใจในการออกกำลังกายด้วย โยคะ เพราะสามารถฝึกสมาธิไปในขณะทำโยคะ ทำให้สุขภาพจิตได้รับการบริหารไปด้วย จึงอยากให้โรงเรียนฟื้นฟูกิจกรรมประเภทนี้อย่างต่อเนื่อง และจัดสถานที่ให้เหมาะสม (เป็นห้องปิด และมีลานกว้าง) ๑.๘  นักเรียนเสนอให้โรงเรียนปรับสนามกีฬาให้มีคุณภาพมากขึ้น เช่น สนามบาสเกตบอล และสนามฟุตซอล  (โรงเรียนได้จัดดำเนินการเรื่องปรับสนามจำนวน ๒ สนาม ให้จนแล้วเสร็จในปีงบประมาณ ๒๕๔๗) ๒. เวทีนักเรียนอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพ  วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๔๘ ณ ลานหน้าห้องพยาบาล โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ มีผู้เข้าร่วมที่เป็นนักเรียนอาสาสมัครจำนวน ๖๘ คนจากระดับชั้น ม.๑-ม.๕ และมีครูเข้าร่วมเสวนาจำนวน ๓ คน ผลสรุปจากเวที มีดังนี้
๒.๑  นักเรียนอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพได้แลกเปลี่ยนข้อมูลการไปสำรวจสุขภาพของเพื่อนนักเรียนในแต่ละห้อง  ซึ่งกระบวนการทำงานเรื่องนี้ไม่เป็นปัญหา และยิ่งเป็นการส่งเสริมให้เพื่อนนักเรียนรู้จักเอื้อเฟื้อและดูแลเพื่อนนักเรียนด้วยกัน  ส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนนักเรียน และเป็นการผ่อนแรงของทีมงานครูอนามัยโรงเรียนและครูโภชนาการ เพราะ ประเด็นที่ไปสำรวจ อาทิเช่น  น้ำหนัก-ส่วนสูง , อาหารเสริมที่ได้รับ, การวัดสายตา , สำรวจการเกิดอุบัติเหตุจากตัวแปรในโรงเรียน ,  สำรวจโรคภูมิแพ้ , สำรวจโรคทางเดินอาหาร , สำรวจโรคทางเดินหายใจ , ช่วยดูแลเพื่อนที่ป่วยในห้องเรียน เป็นต้น ๒.๒  ข้อเสนอแนะจากเวทีนักเรียนอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพ กล่าวคือ นักเรียนกล่าวว่ากิจกรรมนี้ควรส่งเสริมให้เพื่อนนักเรียนได้เข้ามาร่วมทำกิจกรรมให้มากๆ เพราะจะได้ดูแลสุขภาพของตนและเพื่อนนักเรียน ตลอดจนนำประสบการณ์ไปใช้กับที่บ้านได้ด้วย นับเป็นข้อเสนอที่ดีมีประโยชน์ ๒.๓    ผู้เข้าร่วมเสวนาเสนอให้ทีมงานประยุกต์ใช้สมุดการออกกำลังกายที่ได้จัดทำเป็นสมุดประจำตัวนักเรียนทุกคน ให้มาบันทึกสุขภาพของนักเรียนด้วยเพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพรายบุคคล ๓. เวทีการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน "ภูมิปัญญาสู่สุขภาวะ"  ของนักเรียนระดับชั้น ม.๕ ปีการศึกษา ๒๕๔๗  วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๔๘  ณ ลานสวนป่าเฉลิมพระเกียรติ โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์  ผู้เข้าร่วมเสวนา นักเรียนจำนวน ๑๔๕ คน และครูจำนวน ๖ คน ผลที่ได้รับ  มีดังนี้ ๓.๑  กลุ่มเป้าหมายของแกนนำสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเปลี่ยนแปลงจากอาสาสมัครมาจากทุกห้องๆ ละ ๒-๕ คน  มาเป็นจัดให้นักเรียนระดับชั้น ม.๕ เป็นแกนนำ เนื่องจาก มีความพร้อมในเรื่องการบูรณาการของทีมงาน และปรับเรื่องเวลาในการปฏิบัติงาน ซึ่งแกนนำเป็นกลุ่มนักเรียน ม.๕ เป็นส่วนใหญ่ นักเรียนจึงเสนอให้จัดในระดับชั้น ม.๕ เพื่อความสะดวกในการประสานความร่วมมือในเวลาที่จำกัด ๓.๒  แกนนำได้สรุปงานการร่วมวางแผนกันตั้งแต่ต้นในกระบวนการเรียนแบบบูรณาการโดยมีทีมครูผู้ดูแล คิดวางแผนร่วมกัน เป็นจำนวน ๓ ครั้ง และประชุมขยายผลต่อเพื่อนระดับชั้น ม.๕(ในคาบยุวอาสา) จำนวน ๒ ครั้ง จนทำให้เกิดงานรณรงค์และร่วมปฏิบัติการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน อาทิ
- ห้อง ม.๕/๑  จัดรายการเสียงตามสายประจำทุกวัน เนื่องจากเป็นห้องที่มีทีมงานประชาสัมพันธ์หลายคน และร่วมจัดทำพวงกุญแจรักษ์สิ่งแวดล้อมจากแผ่นไม้มะขาม - ห้อง ม.๕/๒ รณรงค์รักษ์สิ่งแวดล้อมโดยใช้ศิลปะวัฒนาธรรมพื้นบ้านรวมกับงานดนตรีไทย เสนอเพลงเรือรักษ์โรงเรียน ไปสู่เพลงเรือรักษ์คลองอู่ตะเภา  และร่วมเป็นทีมงานจัดทำผ้า-  บาติกรักษ์คลองอู่ตะเภา เพื่อนำเสนอในเวทีต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
-  ห้อง ม.๕/๓ จัดทำป้ายผ้าคำขวัญรณรงค์การดูแลสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน และจัดทำพวงกุญแจรักษ์สิ่งแวดล้อมจากวัสดุธรรมชาติและวัสดุเหลือใช้ ตลอดจนเฝ้าระวังการใช้น้ำ-ไฟของแต่ละห้องในโรงเรียน -  ห้อง ม.๕/๔ จัดทำป้ายผ้ารณรงค์ขนาดใหญ่เพื่อใช้เดินรณรงค์ในงานกิจกรรมพาเหรดของโรงเรียนและชุมชน -  ห้อง ม.๕/๕-๕/๖ จัดทำป้ายรณรงค์การประหยัดน้ำ-ไฟโดยใช้ตัวแทนจากศิลปะพื้นบ้านรูปหนังตะลุง
๓.๓ นักเรียนแต่ละห้องนำประสบการณ์จากการอบรมให้ทำอีเอ็มหมักน้ำซาวข้าวจากขยะเปียกมาใช้บำบัดน้ำเสียในคูน้ำของโรงเรียนเพื่อเป็นการเฝ้าระวังในเรื่องของสุขาภิบาลในโรงเรียน และเป็นการช่วยกำจัดลูกน้ำยุงลายที่อยู่ในคูน้ำไปด้วย เพราะเขตเทศบาลตำบลพะตงเป็นพื้นที่เสี่ยงที่เกิดโรคไข้เลือดออกของจังหวัดสงขลา ๓.๔  ข้อเสนอปัญหาที่นักเรียนได้ดำเนินการตามแผนของโครงการ "ภูมิปัญญาสู่สุขภาวะ" เป็นเรื่องของจิตสำนึกในการดูสิ่งแวดล้อมรอบตัวของเพื่อนนักเรียนที่ยังอยู่ในระดับน้อย สังเกตจากสภาพความไม่น่าดูทางด้านทัศนียภาพ อาทิ ขยะที่ยังคงเกลื่อนกลาดในบางจุด  คูน้ำที่ยังมีน้ำเสียหลุดรอดมาจากบ่อดักไขมันของโรงอาหารในโรงเรียน หรือ แม้แต่การดูแลรักษาความสะอาดของพื้นที่สาธารณะ  ในปัญหานี้จึงทำให้ทีมแกนนำได้ใช้กระบวนการกับเพื่อนักเรียนได้มากพอสมควร ทำให้ระบบงาน ๕ ส กลับเข้ามาในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรมอีกครั้งหลังจากที่สลายตัวไปเป็นระยะเวลา ๒ ปี และนักเรียนแกนนำเหล่านี้วางแผนกันที่จะคัดแยกขยะแห้งมาจัดทำศูนย์กลางการจำหน่ายขยะรีไซเคิลให้กับเพื่อนนักเรียนแต่ละห้อง ๓.๕  ข้อเสนอแนะจากเวทีนักเรียนแกนนำ  ต้องการให้โรงเรียนจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันบ่อยๆ เพราะนักเรียนมีข้อมูลที่ต้องการให้โรงเรียนได้รับทราบ และหลายๆ เรื่องเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกันโดยตรงกับนักเรียนจึงต้องการนำเสนอข้อมูลเหล่านั้นเพื่อที่โรงเรียนจะได้นำมาปรับปรุงแก้ไข ๓.๖  ข้อเสนอแนะในการสร้างจิตสำนึกของส่วนรวม  นักเรียนเสนอให้ร่วมกันสร้างให้กับบุคลากรทุกคนในโรงเรียนและชุมชน เพื่อทำให้เกิดสังคมที่มีสุขภาวะอย่างแท้จริง และทำให้เกิดขึ้นทั้งระบบ ๔. เวทีเกษตรไร้สารพิษและอาหารปลอดภัย  วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๘ ณ ลานสวนป่าเฉลิมพระเกียรติ โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์  ผู้เข้าร่วมเสวนา เป็นนักเรียนจำนวน ๕๗ คนและครูที่ปรึกษากิจกรรม และครูที่สนใจจำนวน  ๑๕  คน
ผลที่ได้รับ มีดังนี้ ๔.๑ ทีมงานมองว่างานนี้มีประโยชน์สมควรกระทำต่อไปอีก แม้ว่าจะหมดโครงการก็ตาม เพราะควรบรรจุเข้าไปในหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่น  และเป็นจุดที่จะเชื่อมความสัมพันธ์กับชุมชนได้เป็นอย่างดี เพราะกระทำในสิ่งที่ชุมชนสามารถดำเนินการได้เอง ๔.๒ นักเรียนรุ่นพี่ มองว่ากระบวนเช่นนี้จะสร้างความสามัคคีระหว่างกลุ่มกันได้ดีมาก และมีโอกาสช่วยกันในยามที่มีปัญหาเรื่องต่างๆ ๔.๓ นักเรียนระดับ ม.ต้น มองว่าเป็นโครงการที่ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและควรนำไปขยายผลสู่ชุมชนในกระบวนการปลูกผักแบบไร้สารพิษดังกล่าว เพื่อจะให้ทุกคนมีโอกาสได้รับประทานอาหารที่ปลอดจากสารพิษกันอย่างทั่วถึง ๔.๔ ผักที่ปลูกได้ในครั้งนี้ก็ให้แบ่งขายไปบางส่วน และให้นักเรียนนำกลับไปบ้านเพื่อบอกต่อถึงกิจกรรมปลูกผักไร้สารพิษให้ผู้ปกครองได้ทราบและเข้าใจ ๔.๕ นักเรียนระดับชั้น ม.ปลาย ได้ให้ความเห็นว่า ตนเองได้มีโอกาสศึกษาทฤษฎีการปลูกผักมาตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา เพิ่งจะมีโอกาสมาได้ปฏิบัติการดูแลผักที่ปลูกด้วยตนเอง ทำให้รู้สึกรักและภูมิใจในตนเอง และอยากให้ปลูกในพื้นที่ของโรงเรียนด้วย เพื่อปรับสภาพพื้นที่ทุกบริเวณให้มีการใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ๔.๖ ควรแก้ปัญหาเรื่องน้ำที่ใช้รดต้นผัก  ให้เพียงพอ กับความต้องการของแปลงผัก ๔.๗ ทีมครูเกษตรเสริมแรงนักเรียนว่าเราควรจัดทำต่อไปอย่างต่อเนื่อง ๔.๘ หัวหน้าโครงการ (รองฯปณิธาน  ปรมานุรักษ์) เสนอเพิ่มเติมว่าโอกาสต่อไปควรมอบหมายให้นักเรียนมาดำเนินการห้องละ 1 แปลง และนำไปจัดจำหน่ายให้กับแม่ค้าในโรงเรียนเพื่อนำมาปรุงอาหารที่ปลอดภัยต่อสารพิษให้กับบุคลากรในโรงเรียน หรือแม้แต่โครงการอาหารกลางวันก็เช่นกัน ๔.๙ ทีมงานแกนนำจะจัดซุ้มอาหารปลอดภัยในวันแสดงนิทรรศการของโรงเรียน(๒๒ มีนาคม ๒๕๔๘)เพื่อนำเสนอผลงานสู่ชุมชน และทำให้ผู้บริโภคทั้งในโรงเรียนและในชุมชนได้เข้าใจวิถีการบริโภคที่ปลอดภัย ๕. เวทีเกษตรพอเพียงในชุมชน  วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๘ ณ ลานไทร โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์  จำนวนผู้เข้าร่วมเสวนา นักเรียน ๒๒๖ คน  ครูบูรณาการ ม.๔ และผู้สนใจ จำนวน ๑๕ คน
ผลที่ได้รับ มีดังนี้ ๕.๑ ได้ร่วมการวางแผนประสานงานกับชุมชนที่เป็นผู้ปกครองของนักเรียนเพื่อขอใช้สถานที่ในการขุดบ่อเลี้ยงปลาแบบบ่อดินโดยการปูผ้ายาง และการทำแปลงผักเพื่อปลูกผักไร้สารพิษ
๕.๒ เป็นประเด็นการวางแผนทำงานบูรณาการของระดับชั้น ม.4  เรื่อง ภูมิปัญญารักษาสิ่งแวดล้อม โดยเน้นที่กิจกรรมเศรษฐกิจแบบพอเพียง ซึ่งกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เข้ามาร่วมทำกระบวนการมีทุกกลุ่มสาระ  จากการร่วมทำกระบวนการครั้งนี้ทำให้ทีมงานเสนอให้นักเรียนกลุ่มเดิมยังดำเนินการโครงการเลี้ยงปลานี้ต่อไปจนถึง ม.6 ซึ่งทีมบูรณาการจะส่งต่อไปยังระดับชั้น ม.5 ต่อไป หากทุกอย่างสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องจะทำให้เปลี่ยนวิธีคิดของชุมชนได้ในเรื่องการเลิกใช้สารเคมีมาทำเกษตรของชุมชน ๕.๓ การนำเสนอของนักเรียนบูรณาการงานเศรษฐกิจพอเพียง เข้ากับ งานประพันธ์บทกลอน และทำให้มีสีสันในการนำเสนอด้วยการนำภาพวาดระบายประกอบ  บ่งบอกให้เห็นว่านักเรียนมีความเข้าใจในการทำงานแบบบูรณาการและสร้างกระบวนการนำเสนอด้วยตนเอง ๕.๔ เกิดความสัมพันธ์ของทีมงานในการวางแผนร่วมกันเพื่อการติดตามประเมินผลในชุมชนซึ่งแตกต่างจากที่เคยปฏิบัติ ทำให้สามารถประยุกต์ใช้ในงานสัมพันธ์ชุมชนได้เป็นอย่างดีของทีมงานทั้งนักเรียนและครู-อาจารย์ ๕.๕ ทีมงานได้รับการตอบรับจากชุมชนมากขึ้น พบว่ากลุ่มเป้าหมายเดิมที่จะไปขุดบ่อเลี้ยงปลาเป็นบ้านของผู้ปกครองนักเรียน ม.4 ซึ่งกระจายไปทั่วหลายอำเภอของจังหวัดสงขลาดังที่ได้กล่าวแล้วในเบื้องต้น  ขณะนี้ชุมชนที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลพะตงและหมู่บ้านในเขต อบต.พะตง เล็งเห็นความสำคัญ กอปรกับต้องการทำให้พะตงเป็นเมืองน่าอยู่จึงอยากทำกิจกรรมดังกล่าวด้วยจนเป็นเหตุให้ทีมงานสามารถขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นไปโดยไม่ต้องเสียเวลาลงสำรวจในพื้นที่ ๖. เวทีสุขภาวะชุมชน  เป็นเวทีที่ชุมชนเข้ามาร่วมสะท้อนผลงานที่ผ่านมาของชุมชนพะตงร่วมกับโรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ที่ดำเนินการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง  จัดเวทีในวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๘ ณ สวนสายน้ำ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีผู้เข้าร่วมเสวนาที่มาจากทุกภาคส่วนในเทศบาลตำบลพะตง จำนวน ๘๕ คน  เวทีนี้นับว่าป็นการบูรณาการงานจัดการสุขภาพชุมชนและ งานจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน เพื่อสู่สุขภาวะของคนพะตงอย่างแท้จริง เพราะเป็นทั้งเวทีสรุปเพื่อสะท้อนผลงาน และเป็นเวทีที่เริ่มรวมตัวทำโครงการเมืองพะตงน่าอยู่  ทำให้ผู้ร่วมดำเนินการได้มีโอกาสเข้ามาทำงานแบบมีส่วนร่วมกันอย่างชัดเจน และผู้ที่มาร่วมเวทีมาจากหลากหลายหน่วยงาน อาทิ - ตัวแทนจาก อสม. ทั้ง ๘ ชุมชน - ประธานชุมชน ทั้ง ๘ ชุมชน - หน่วยงานในเขตเทศบาลตำบลพะตง - สถานประกอบการในเขตเทศบาลตำบลพะตง เช่น โรงงานอุตสาหกรรม , ร้านค้าในตลาดทุ่งลุง - โรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลพะตง - ท่านเจ้าอาวาสวัดทุ่งลุง - ตัวแทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา - ตัวแทนจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติจังหวัดสงขลา - ตัวแทนจากศูนย์อนามัยเขต ๑๒ ยะลา ผลที่ได้รับ มีดังนี้ ๖.๑) การร่วมเสวนาช่วงเช้า ๑) ได้บรรยากาศการเริ่มทำความรู้จักกันในหน่วยงานทุกภาคส่วนภายในเขตเทศบาลตำบลพะตงมากยิ่งขึ้นและหน่วยงานของรัฐที่มีประเด็นสนใจร่วมกันมากยิ่งขึ้น ทำให้ชุมชนเห็นการทำงานที่มีส่วนร่วมมากขึ้น ๒) การทำงานของหน่วยงานในปัจจุบันต้องลงมาหาชุมชนโดยแท้จริง ไม่ใช่นั่งวางแผนพิจารณาอยู่ในที่ทำงานดังแต่ก่อน  ปัจจุบันหน่วยงานทุกหน่วยงานของรัฐ และเอกชนจะต้องร่วมกันวางแผนเพื่อการทำงานแบบบูรณาการ ดังนั้นการใช้กระบวนการมีส่วนร่วม จึงเป็นกลไกที่ดีที่สุดที่จะทำให้งานสำเร็จ  ทำงานเฉพาะส่วนจะสำเร็จได้เพียงระดับเดียว  ความสำเร็จสูงสุดอยู่ที่เรียงร้อยการทำงานมาจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะประชาชนเข้ามาร่วมด้วยจะมีความสำเร็จสูงสุด  ต้องมีความรู้รักสามัคคี  ลดปัญหาความขัดแย้งลงได้มาก เพราะการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกๆ ขั้นตอน ตั้งแต่ วางแผน ดำเนินการ ติดตามตรวจสอบ และปรับปรุงพัฒนาร่วมกันตลอด ๓) การแก้ปัญหา หรือทำเมืองน่าอยู่รวมมาในหลายๆ มิติ เช่น สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สุขภาพ สถาปัตยกรรม ภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะพฤติกรรมของคน โดยต้องมองในหลายๆ ด้านแบบองค์รวม บางอย่างต้องใช้กระบวนการที่นอกเหนือจากการทำความเข้าใจ  อาจต้องใช้การบังคับ เพราะคนไทยชอบทำอะไรตามใจชอบ ๔) เราต้องมองสิ่งต่างๆ ให้กว้าง กว่างานสุขภาพ  การทำงานต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ ๕) เมืองไทยยังไม่ได้แก้ไขที่คุณภาพคน  มักจะไปแก้ที่ปลายเหตุ รณรงค์กันในเรื่องความสะอาด ระเบียบวินัย การไม่รับผิดชอบต่อส่วนรวม  ขอให้แก้ทางการศึกษา โดยเฉพาะในเรื่องการพัฒนาคน ขอให้คิดในแง่ความยั่งยืน ๖) เรามักแต่คิดว่าทำให้เสร็จ ทำเพื่อการแข่งขัน ไม่ได้คิดทำเพื่อพัฒนา ทำให้เสียงบประมาณไปมากพอสมควร เมื่อเสร็จโครงการ ทุกอย่างก็จบ  ซึ่งไม่ดี ไม่ ได้พัฒนาอย่างยั่งยืน  จึงมาลงปฏิบัติที่- พี่น้องประชาชน ให้ฝังเข้าไปในความคิด ไปปรับคนในสังคมให้มีคุณภาพ ๗) คนทำงานเพื่อส่วนรวม มีมากเท่าเทียมกับคนที่ทำงานเพื่อส่วนตน ทำให้การพัฒนาไปได้ช้า  ดังนั้นเราจึงต้องร่วมมือกันในการทำงานเพื่อส่วนร่วม  ความยั่งยืนจะมาเมื่อเวลาที่ทุกคนมีจิต-สาธารณะ ๘) แนวคิดการพัฒนาเมือง ๑) เป็นกระบวนการพัฒนาแบบองค์รวม ๒) ยึดคนเป็นศูนย์กลาง  คนมีคุณภาพดีขึ้น  วิถีชีวิตดี  มีความสุข(สิ่งที่ตามมา คือ เด็กมีปัญหา  พฤติกรรมเบี่ยงเบน) ๓) อาศัยความเข้มแข็งของชุมชนเป็นฐานในการพัฒนา (ภูมิปัญญา มีความสามัคคี มีจิตสาธารณะ เห็นปัญหาส่วนรวมเป็นของตน) ๔) มุ่งให้เกิดความสะดวก ปลอดภัย สะดวก สะอาด มีระเบียบวินัย(มีสันติสุข เคารพกฎจราจร) ๕) มีเศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็ง(แตกต่างไปตามสภาพของเมือง) ๖) มีระบบบริหารจัดการที่ดี (มีความโปร่งใส ,ตรวจสอบได้ ,การมีส่วนร่วม,ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามที่คาดหวัง  องค์กรที่จัดการจะหมายรวมไปถึงระบบบริหารจัดการของชุมชน ของภูมิภาค ของส่วนกลาง) ๙) หลักการพื้นฐานของเมืองน่าอยู่ ๑. เมืองน่าอยู่แต่ละแห่งแตกต่างกันไปตามศักยภาพ  ความพร้อม วัฒนธรรม และค่านิยมของชุมชน ๒. มีลักษณะเป็นพลวัตร สามารถแปรเปลี่ยนปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ (พัฒนาทางด้านกายภาพไปให้ได้ถึงระดับ  จะไปเริ่มพัฒนาที่ศิลปวัฒนธรรม-จิตใจ) ๖.๒) การร่วมเสวนาช่วงบ่าย(กลุ่มย่อย)ตามประเด็นที่สนใจ ๑) กลุ่มโรงเรียน ๒) กลุ่มสุขภาพ ๓) กลุ่มชุมชน ๔) กลุ่มโรงงาน ได้ข้อสรุปจากเวทีช่วงบ่าย ๑) กลุ่มโรงเรียน เสนอการปรับภูมิทัศน์ ให้ปลูกต้นไม้เพิ่ม,การจัดการน้ำเสียในโรงเรียน ,การจัดการขยะในโรงเรียน ๒) กลุ่มสุขภาพ เสนอการประชุมทำเวทีสุขภาพโดยไม่รวมเข้าไปในวาระการประชุมประจำเดือนของ อสม. ซึ่งเนื้อหาที่สนใจมาจาก กลุ่มชาวบ้าน , สนใจการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนเพื่อส่งผลให้สุขภาพดีทั่วหน้า ๓) กลุ่มชุมชน เสนอโครงการทำคูระบายน้ำจากครัวเรือนไปสู่บ่อบำบัดก่อนปล่อยลงคลองอู่ตะเภา , สร้างลานกีฬาเพื่อสุขภาพของชุมชน , ปลูกไม้ดอก ไม้ประดับเพื่อความสวยงามของหน้าบ้าน ,การกำจัดสุนัขจรจัด, การให้ความรู้ในวิธีการจัดการขยะ ,การปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ,การใช้ อีเอ็มรักษาครัวเรือน ,การฟื้นฟูคลองอู่ตะเภา ๔) กลุ่มโรงงาน เสนอโครงการคัดแยกขยะรีไซเคิลในโรงงานเพื่อลดปริมาณขยะ,โครงการลดการใช้น้ำในบ้านพักคนงานเพื่อลดการกำเนิดน้ำเสีย ๖.๓) ข้อสรุปภาพรวมของเวทีสุขภาวะชุมชนที่เชื่อมโยงไปยังโครงการเมืองพะตงน่าอยู่ มีดังนี้ ๑) ประเด็นการจัดการขยะ ๒) ประเด็นการจัดการน้ำเสีย ๓) ประเด็นสุขภาพ ๔) ประเด็นภูมิทัศน์ จึงได้จัดผู้รับผิดชอบเป็นแกนนำในแต่ละประเด็น ดังนี้ ๑) ประเด็นการจัดการขยะ  นายก้อหลัด บุญมี , นางสาวสมจิตร กล่อมขจิต ๒) ประเด็นการจัดการน้ำเสีย  นายศักดิ์ศิริ  โตเอี่ยม , นางเบญจมาศ  นาคหลง ๓) ประเด็นสุขภาพ นางสมนึก  เรืองเกียรติกุล , นางอัชฌา  ชนะวรรณโณ ๔) ประเด็นภูมิทัศน์ นายสมพร  ชูมณี , นายธนเดช  หนูประดิษฐ์ นับว่าเวทีสุขภาวะชุมชนเป็นเวทีเริ่มต้นของการทำงานแบบมีส่วนร่วมของทุกคนในชุมชนในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมสู่สุขภาวะร่วมกันจริงๆ เพราะหลังจากเวทีครั้งนี้ได้มีการทำเวทีเพื่อพัฒนาโครงการเมืองพะตงน่าอยู่ติดต่อกันหลายครั้งจนได้ตัวโครงการที่ทุกคนในชุมชนได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๔๘ จนถึงปัจจุบัน ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง นับเป็นโครงการสานสายใยเพื่อสุขภาพ(ระยะที่ ๒)ที่ออกสู่ชุมชนอย่างชัดเจน

๗) เวทีถอดบทเรียนทีมงานสานสายใยเพื่อสุขภาพ ครั้งที่ ๑  วันที่ ๖-๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘  ณ สวน-อาหารล็อกเทอเรส  ต.บางหัก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ผู้ร่วมเสวนาจำนวน ๑๘ คน วิทยากรจาก Node สสส. และโครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่ รวม ๓ คน
การทำเวทีถอดบทเรียนครั้งนี้เพื่อต้องการสรุปงานของทีมงาน และเพื่อนำมาแก้ปัญหาในการทำงานบูรณาการที่ยังไม่สอดประสานกันอย่างชัดเจน หรือ อาจยังมีการแยกส่วนของทีมงานแต่ละแผนงานทำให้
ผู้ให้การสนับสนุนวิทยากรและงบประมาณการไปทำเวทีนอกสถานที่ คือ โครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่ร่วมกับ Node  สสส.เป็นเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท ผลที่ได้รับ มีดังนี้ ๗.๑ ได้เข้าใจกระบวนการจัดการความรู้เพื่อที่จะถอดความคาดหวัง ความคิด ความเข้าใจ และกระบวนการของแต่ละคนจากแต่ละแผนงานย่อยในโครงการ ๗.๒  ได้มาสรุปและผสานงานในกระบวนการและผลที่เกิดขึ้นในแต่ละแผนของทีมงาน ซึ่งไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะที่อยู่โรงเรียน ๗.๓  ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิด และประสบการณ์กันอย่างครอบคลุมทุกแผนงาน ๗.๔  ได้ข้อสรุปของสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานและมาร่วมกันหาข้อแก้ไข หรือร่วมกันให้ข้อเสนอเพื่อดำเนินงานให้ลุล่วงภายในระยะเวลาที่กำหนด ๗.๕  เวทีการถอดบทเรียนครั้งนี้ มีเพียงแต่ครูแกนนำของแต่ละแผนงาน วิทยากรจึงให้ข้อเสนอแนะว่าควรจะถอดบทเรียนอีกครั้งโดยให้มีทีมนักเรียนแกนนำเข้ามาร่วมเสวนาด้วยและเป็นการพัฒนากระบวนการบูรณาการให้มีกระบวนการที่กระชับขึ้น จึงเกิดเวทีถอดบทเรียนครั้งที่ ๒ ๘) เวทีถอดบทเรียนทีมงานสานสายใยเพื่อสุขภาพ ครั้งที่ ๒  วันที่ ๑๗-๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๘ ณ อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า  อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง ผู้ร่วมเสวนาจำนวน  ๒๕  คน วิทยากรจาก Node สสส. และโครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่ รวม ๓ คน การทำเวทีครั้งนี้เป็นเป็นเวทีที่ต่อเนื่องจากข้อ ๗ โดยเพิ่มสมาชิกที่เป็นแกนนำนักเรียนในแต่ละแผนงานย่อย ทำให้มุมมอง และประสบการณ์จากการทำกระบวนการมีความสมบูรณ์มากขึ้น ผู้ให้การสนับสนุนวิทยากรและงบประมาณการไปทำเวทีนอกสถานที่ คือ โครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่ร่วมกับ Node  สสส.เป็นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท ผลที่ได้รับ มีดังนี้ ๘.๑  ทีมงานทุกระดับ นักเรียน-ครู-ผู้บริหาร ได้มาร่วมกันสรุปกระบวนการ  วางแผนการทำงานบูรณาการของทีมงานในชุมชนที่สัมพันธ์กับโรงเรียนมากยิ่งขึ้น ๘.๒ ทีมงานมองภาพกระบวนการจัดการความรู้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนและชุมชนได้หลายๆ กรณี ๘.๓  ทีมงานมั่นใจในข้อสรุปของโครงการ เพราะกระบวนการจัดการความรู้ที่แบ่งกันทำงานเป็นกลุ่มๆ ผลที่ออกมาใกล้เคียงกันมากแสดงว่า แนวทางการดำเนินงานในเรื่องบูรณาการของทีมงานเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน ๘.๔  ได้แนวทางสรุปการปฏิบัติงานเชิงบูรณาการของทุกฝ่ายชัดเจน เพื่อลดการซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงานทั้งที่เป็นงานประจำและงานพิเศษ ทำให้เป็นแนวทางปรับโครงสร้างของทีมบริหารในโรงเรียนไปในตัว ๘.๕  เป็นกระตุ้นทีมงานโดยเฉพาะกองเลขาที่จะต้องรวบรวมสรุปรายงานในโครงการที่ได้ดำเนินการมาตลอดเวลา  ๒ ภาคเรียน  และเป็นการเสนอแนวทางดำเนินการในส่วนที่ประสานกับชุมชน เช่น งานเกษตรพอเพียงในชุมชน ที่จะต้องดำเนินการให้กระชับและจัดทำให้เป็นความตระหนักของชุมชน เพื่อการเกษตรพอเพียงแบบยั่งยืนของชุมชนนั้นๆ ๙) เวทีเสวนาเพื่อจัดทำ AAR (After Action Review) ให้กับทีมงาน ครู-นักเรียน-ชุมชน ใน              โครงการสานสายใยเพื่อสุขภาพ  วันที่  ๒๗ กันยายน ๒๕๔๘ ณ ลานไทรโรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ ผู้เข้าร่วมเสวนาจำนวน  ๒๒ คน มีวิทยากรมาจากทีมประเมินของ สสส. ผลที่ได้รับ มีดังนี้ ๙.๑ ทีมงานได้เข้าใจรูปแบบของการจัดการความรู้เพิ่มมากขึ้นจากเดิม และสามารถนำมาใช้กับการสรุปงานอื่นๆ ที่เป็นการปฏิบัติงานแบบมีส่วนร่วม ๙.๒  ได้ข้อคิดเห็นที่เป็นมุมมองของทุกคน ทั้งสิ่งที่อยากให้เป็น  สิ่งที่เกิดขึ้นจริง และสาเหตุที่ทำให้เกิดกระบวนการนั้นๆ  ซึ่งเวทีนี้ต้องการให้ทุกคนในทีมงานได้เหลียวกลับมามองกระบวนการระหว่างทางที่เกิดขึ้น เพื่อจะรวบรวมสิ่งที่ดี และอยากให้นำมาปฏิบัติต่อไป หรือ สิ่งที่ไม่ดี แต่อยากปรับปรุงแก้ไขเพราะอาจเป็นกระบวนการที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานและบุคลากรทุกคน เป็นต้น ๙.๓  ทำให้ทราบจุดอ่อน และจุดแข็งของทีมงาน เพื่อนำไปสานงานช่วงต่อไปไม่ว่าจะเป็นโครงการใดๆ  หากเราปรับกระบวนการทำงานให้ชัดเจน ทุกอย่างจะดำเนินการไปได้ด้วยดีและมีประสิทธิภาพแน่นอน

Comment #1
Kim_nara (Not Member)
Posted @28 พ.ย. 49 18:05 ip : 210...48
Photo :  , 350x250 pixel 98,535 bytes

ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างนี้ดีน่ะค่ะ เกิดความสามัคคีภายในกลุ่มกันดี

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว