สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

รายงานงวด 1

by wanna @28 เม.ย. 49 15:07 ( IP : 58...99 ) | Tags : สานสายใยเพื่อสุขภาพ
photo  , 240x180 pixel , 37,659 bytes.

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 วันที่ 1 ก.ย. 47 เวลา 13.00-16.30  น. ประชุมทีมงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพร่วมกับชุมชนจากเทศบาลตำบลพะตง  มีผู้เข้าร่วม  38 คน ได้ชี้แจงรายละเอียดของงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ที่มีองค์ประกอบ  10 องค์ประกอบ และร่วมแสดงความคิดเห็นการวางแผนการดำเนินงาน /
ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 วันที่ 28 ต.ค. 47 เวลา 13.00-16.30  น. ประชุมชี้แจงการได้รับรางวัลโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นและโครงการสานสายใยเพื่อสุขภาพที่เชื่อมโยงกับงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ  มีผู้เข้าร่วมที่เป็นบุคลากรทุกฝ่ายตลอดจน นักเรียนและนักการภารโรง ทั้งหมด  95 คน ได้ชี้แจงรายละเอียดโครงการพิเศษที่โรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณ และเชื่อมโยงลักษณะงานให้เพื่อนบุคลากรและตัวแทนนักเรียนรับทราบเพื่อร่วมกันวางแผนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ
ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 วันที่ 3 พ.ย. 47 เวลา 13.00-16.30  น.  ประชุมต่อเนื่องจาก ครั้งที่ 2 มีผู้เข้าร่วมประชุม 75 คน ได้วางแผนการทำงานต่อจากการประชุมครั้งที่ 2 เพื่อให้การดำเนินงานสามารถกระทำได้ตามแผนปฏิบัติการในโครงการฯ
ประชุมแกนนำคณะทำงาน ครั้งที่ 4 วันที่ 5 พ.ย. 47 เวลา 08.00-09.00 น. ประชุมทีมประธานและเลขาของแต่ละองค์ประกอบในงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ มีผู้เข้าร่วมประชุม 17 คน มีผู้เข้าร่วมประชุมครบทั้ง 10 องค์ประกอบ  ทำให้งานโครงการสานสายใยสามารถนำไปดำเนินการพร้อมๆ กับงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ /
ประชุมแกนนำคณะทำงาน ครั้งที่ 5 วันที่ 27 ธ.ค. 47 เวลา 15.00-16.00 น.ประชุมติดตามความคืบหน้าของแต่ละองค์ประกอบเพื่อโยงงานโครงการสานสายใยเพื่อสุขภาพ มีผู้เข้าร่วมประชุม 15 คน มีผู้เข้าร่วมประชุมครบทั้ง 10 องค์ประกอบ  และได้ให้แต่ละงานตามโครงการสานสายใยรายงานการดำเนินการ เพื่อติดตามความคืบหน้าของงาน
การให้ความรู้เรื่องโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพหน้าเสาธง
ทุกวันพุธ ของแต่ละสัปดาห์ นักเรียนให้ความสนใจร้อยละ 50
การอบรมนักเรียนแกนนำด้านสุขภาพ วันที่      พ.ย. 47 เวลา 08.30-14.00 น. มีนักเรียนแกนนำเข้ารับการอบรมจำนวน    55    คน ได้นักเรียนแกนนำสุขภาพจากทุกห้องของแต่ละระดับชั้น เพื่อทำหน้าที่ช่วยดูแลสุขภาพเพื่อนๆ ในห้องเรียน และรับมอบหมายในการบริการงานอนามัยโรงเรียนในห้องพยาบาล
การอบรมนักเรียนแกนนำเกษตรพอเพียงในชุมชน ในคาบเวลาเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ฯ ระหว่างวันที่ 13-17 ธันวาคม 47 นักเรียนที่ได้รับการอบรมเป็นนักเรียนระดับชั้น ม.4 โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ ปีการศึกษา 2547 จำนวน 227 คน นักเรียนทั้งหมดแบ่งความรับผิดชอบเป็น 25 กลุ่ม ในการร่วมกันวางแผนดำเนินงานตามกิจกรรมเกษตรพอเพียงในชุมชนของตนเอง โดยเน้นการขุดบ่อดินปูผ้ายางเพื่อเลี้ยงปลา ,เลี้ยงปลวกเป็นอาหารปลา , ปลูก ผักสวนครัวรั้วกินได้ และ ผลิตอีเอ็มหมักน้ำซาวข้าวมาใช้ในการปรับคุณภาพน้ำของบ่อเลี้ยงปลา และทำปุ๋ยชีวภาพให้กับผักที่ปลูก ตลอดจนได้รู้จักการบำบัดน้ำเสียในครัวเรือนโดยเฉพาะน้ำซาวข้าวที่มีกันทุกบ้าน /
การอบรมนักเรียนแกนนำเกษตรธรรมชาติ/ปลูกผักไร้สารพิษหน้าโรงเรียน พะตงประธานคีรีวัฒน์ ในคาบว่างของทุกวัน เวลา 15.00-16.00 น. ระหว่างวันที่  10-21 ม.ค.48 นักเรียนที่ได้รับการอบรมเป็นกลุ่มนักเรียนกู้ยืมเงิน(ทำโครงการตอบแทนคุณแผ่นดินเกิด)  จำนวน  55 คน นักเรียนที่เข้าอบรมในช่วงแรกเป็นกลุ่มที่กระจายอยู่ครบทุกระดับชั้น โดยอบรมไปพร้อมกับการลงมือปฏิบัติในพื้นที่เพื่อปรับพื้นที่ว่างๆ หน้าโรงเรียนพะตงประธานฯให้เป็นแปลงปลูกผัก
และเมื่อเพาะปลูกลงพันธุ์พืชเรียบร้อย  จะมอบหมายให้นักเรียนระดับชั้น ม.1 มาช่วยรดน้ำต้นไม้ทุกวัน ซึ่งโรงเรียนจ้างรถไถมาทำร่อง และให้นักเรียนปรับให้ดีขั้นและนำขยะใบไม้ในโรงเรียนพร้อมทั้งอีเอ็มหมักน้ำซาวข้าวมาปรับดินให้เหมาะต่อการเพาะปลูกพืชผัก ซึ่งใช้เวลาในการปรับหน้าดินประมาณ 7 วัน จึงหว่านพันธุ์ผักในช่วงสุดท้าย

การอบรมนักเรียนแกนนำการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน วันที่ 2 ก.พ. 48 เวลา 08.00-15.00 น. เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ เน้นการบำบัดน้ำเสียในครัวเรือน  มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 150 คน (นักเรียนระดับชั้น ม.5) -นักเรียนที่เข้ารับการอบรมเป็นสมาชิก ทสม.(อาสาสมัครพิทักษ์-ทรัพยากรธรรมชาติหมู่บ้านและเมือง) ของ สนง.ทรัพยากรธรรมชาติฯของจังหวัดอยู่แล้ว  และนักเรียนกลุ่มนี้เสนอโครงการบูรณาการ"ภูมิปัญญาสู่สุขภาวะ" ทำให้ผู้จัดโยงกิจกรรมให้เป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อลดภาระงาน
- นักเรียนได้ปฏิบัติการลอกคูน้ำในโรงเรียน และปลูกหญ้าหน้าโรงเรียน
- นักเรียนฝึกการผลิตอีเอ็มหมักน้ำซาวข้าว และการผลิตสารสกัดชีวภาพ เพื่อช่วยคัดแยกขยะเปียกจากโรงอาหารของโรงเรียนมาทำประโยชน์ต่องานรักษา ความสะอาดในโรงเรียน 
การอบรมนักเรียนแกนนำการออกกำลังกาย วันที่ 15 ก.พ. 48 นักเรียนแกนนำที่สนใจในกิจกรรมออกกำลังกายแต่ละประเภท จำนวน  12 ชนิด ๆ ละ  5  คน  รวมทั้งหมด  60 คน - ทุกคนผ่านการทดสอบสมรรถภาพ - ทุกคนฝึกกระบวนการเป็นผู้นำเพื่อเชิญชวนเพื่อนๆ  ในโรงเรียนและชุมชนมาร่วมกันออกกกำลังกายในคาบกีฬาทุกวันศุกร์(คาบ 11) /
การปฏิบัติการของแกนนำสุขภาพ รับมอบหมายการไปช่วยดูแลและบริการเพื่อนนักเรียนในห้องพยาบาลของแต่ละวัน(ทุกเวลาพักเที่ยง) - นักเรียนได้ฝึกกระบวนการให้บริการด้านสุขภาพ - นักเรียนฝึกความรับผิดชอบทั้งตนเองและผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง /
การปฏิบัติของแกนนำออกกำลังกาย รับมอบหมายให้นำเพื่อนๆ ออกกำลังกายในคาบกีฬาของโรงเรียนทุกวันศุกร์ - นักเรียนชุดนี้ยังรวมตัวได้ค่อนข้างช้าทำให้งานเกิดน้อย - นักเรียนทุกคนจะมีสมุดออกกำลังกายประจำตัวเพื่อใช้จดบันทึกการออกกำลังกาย /
กิจกรรม ผลงาน การปฏิบัติของแกนนำการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ทุกวันช่วงหลังเลิกเรียน นักเรียนจะนำขยะเปียกจากโรงอาหารมาผลิตอีเอ็มหมักน้ำซาวข้าว และ นำขยะสดประเภทเศษผักผลไม้และเศษอาหารมาผลิตสารสกัดชีวภาพ - นักเรียนได้แบ่งกลุ่มรับผิดชอบงานดูแลคูน้ำทั้งโรงเรียน -นักเรียนได้ผลิตภัณฑ์อีเอ็มหมักน้ำซาวข้าวไปใช้ในการราดรดคูน้ำของโรงเรียนที่ส่งกลิ่นเหม็นตามบริเวณที่ห้องตนเองรับผิดชอบ - นักเรียนได้รู้จักการนำเศษอาหารที่เหลือทิ้งของร้านแม่ค้าในโรงอาหารของโรงเรียนมาทำประโยชน์เป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพ - นักเรียนได้ร่วมกันเฝ้าระวังโดยการตรวจสอบการใช้น้ำและไฟของนักเรียนและบุคลากรตามอาคารต่างๆ ในโรงเรียน - นักเรียนได้สร้างชิ้นงานเพื่อร่วมกันรณรงค์การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟในโรงเรียนตลอดจนการดูแลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
การปฏิบัติของแกนนำเกษตรธรรมชาติ -นักเรียนที่รับผิดชอบสามารถจัดการปลูกพืชผักได้หลายชนิด - นักเรียน  2 กลุ่ม ระหว่างกลุ่มกู้ยืมเงิน และ น้องๆ ม.1 สามารถเรียนรู้การร่วมมือกันทำงาน โดยใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ - นักเรียน  2 กลุ่ม ระหว่าง นักจัดการสิ่งแวดล้อม และนักยุวเกษตรไร้สารพิษ เชื่อมโยงงานกันอย่างลงตัว กล่าวคือ มีฝ่ายผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพ นำมาให้ ฝ่ายเกษตรใช้ปรับปรุงดินและดูแลพืชผักที่ปลูกอย่างต่อเนื่อง - โรงเรียนได้เรียนรู้การทำงานในเชิงบูรณาการแบบหมู่คณะมากยิ่งขึ้น และครูสามารถนำไปประเมินเป็นคะแนนกระบวนการทำงานของนักเรียน บูรณาการ ม.1 - สร้างจิตสำนึกให้กับนักเรียนในการช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมและผลิตพืชผักที่ไร้สารพิษเป็นรูปธรรมเพื่อตัวของนักเรียนเองตลอดจนนำไปขยายผลใน ชุมชนบ้านตนเอง /
การปฏิบัติของแกนนำอาหารสร้างเสริมสุขภาพ/อาหาร-ปลอดภัย - นักเรียนกลุ่ม อย.น้อย ที่ผ่านการอบรมจากจังหวัดสงขลา มาดำเนินการทำโครงการต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับกลุ่มผลิตพืชผักไร้สารพิษ โดยบุคลากรกลุ่มนี้มีความคาดหวังจะนำผลิตผลที่ได้จากภาคเกษตรไร้สารพิษมาปรุงเป็นอาหารให้กับนักเรียนในโครงการอาหารกลางวัน (กลุ่มนักเรียนทุพโภชนาการ) - เกิดชุมนุม อย.น้อย ที่มาร่วมทำกระบวนการกับคณะครูอาจารย์ เพื่อมาร่วมดูแลเรื่องการบริโภคอาหารที่สร้างเสริมสุขภาพ(โครงการแจกอาหารเสริมให้นักเรียนภาวะทุพโภชนาการ)
-เฝ้าระวังการใช้สารที่เป็นอันตรายต่อ /
- นักเรียนชุมนุม อย.น้อย ร่วมกันแนะนำและดูแลให้แม่ค้าในโรงอาหารของโรงเรียนหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากธรรมชาติ ได้แก่ อีเอ็มหมักน้ำซาวข้าว เพื่อเช็ดถูทำความสะอาดภาชนะและพื้นห้อง  เพื่อเป็นการลดการใช้สารเคมี และช่วยลดไขมันที่จะตกไปสู่ท่อน้ำทิ้งของโรงอาหาร - นักเรียน  3 กลุ่ม ระหว่าง นักจัดการสิ่งแวดล้อมนักยุวเกษตรไร้สารพิษ และ ทีม อย.น้อย  เชื่อมโยงงานกันอย่างลงตัวในด้านการรณรงค์การคัดแยกขยะเปียกในโรงอาหาร และนำมาผลิตเป็น อีเอ็มหมักน้ำซาวข้าว และ สารสกัดชีวภาพ เพื่อนำมาใช้เป็นสารทำความสะอาดของงานในโรงอาหาร ตลอดจนนำไปใช้ในงานปลูกผักไร้สารพิษหน้าโรงเรียน สุขภาพ เช่น สารบอแรกซ์ เป็นต้น - เกิดภาคีการทำงานของนักเรียนแกนนำ 3 กลุ่ม (นักจัดการสิ่งแวดล้อม, ยุวเกษตรไร้สารพิษ, อย.น้อย)ให้มาทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อมสู่สุขภาวะอย่างเป็นรูปธรรม
การปฏิบัติการของแกนนำเกษตรพอเพียงในชุมชน - นักเรียนระดับชั้น ม.4 ทุกคน ได้ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อขุดบ่อเลี้ยงปลาในพื้นที่ชุมชนของตนเอง ตลอดจนปลูกผักไร้สารพิษ และเลี้ยงปลวกเพื่อเป็นอาหารปลาที่ตนเลี้ยงทำให้ลดค่าใช้จ่าย - นักเรียนในระดับชั้น ม.4 ทุกคน ได้เรียนรู้กระบวนการของเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำริ - โรงเรียนร่วมสร้างจิตสำนึกรักษ์

สิ่งแวดล้อมในชุมชน - นักเรียนมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตของกลุ่มตนเอง - นักเรียนได้มีโอกาสขยายผลการทำเกษตรพอเพียงในชุมชนของตนเอง - นักเรียนมีโอกาสนำกระบวนการบำบัดน้ำเสียในครัวเรือนไปใช้กับชุมชนของตนเองอย่างเป็นรูปธรรม
7.ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ) 1)..ทีมงานบางส่วนขาดความเข้าใจในกระบวนการเชื่อมโยงบริบทของงานเพื่อให้สอดคล้องกับงานประจำ 2)...ภาระงานประจำของทีมงานค่อนข้างมากแบบต่อเนื่องทำให้ขาดช่วงเวลาการมาประชุมปรึกษาหารือในช่วงการปฏิบัติการ 3)...เวลาที่กำหนดไว้ในโครงการค่อนข้างมีข้อจำกัดและกระทบต่องานประจำ ทำให้ขาดความต่อเนื่องในบางครั้ง 8.แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป (  /    ) ตามแผนงานเดิมที่ระบุไว้ในข้อเสนอโครงการ (  ) มีการปรับเปลี่ยนจากข้อเสนอโครงการ ระบุกิจกรรม/รายละเอียดที่จะปรับเปลี่ยน และระยะเวลาที่จะปรับเปลี่ยน

9.ประเมินสถานการณ์โดยภาพรวมของโครงการ (  /    ) สามารถดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนได้ (      ) ล่าช้ากว่าแผน กรุณาให้แนวทางแก้ไขปรับปรุง (สรุปเป็นข้อ ๆ) 1)........................................................................................................................................... 2)........................................................................................................................................... 10.ข้อคิดเห็นอื่น ๆ
ควรสนับสนุนให้ทำโครงการอย่างต่อเนื่อง เพราะหากได้มีการถอดบทเรียนจะสามารถจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่น ในประเด็นสิ่งแวดล้อมสู่สุขภาวะได้จริง

Comment #1
*-* (Not Member)
Posted @26 ธ.ค. 50 20:48 ip : 124...132

อิดอก

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว