สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

สรุปการดำเนินงานโครงการ

by wanna @28 เม.ย. 49 14:51 ( IP : 58...99 ) | Tags : สานสายใยเพื่อสุขภาพ
photo  , 332x249 pixel , 57,531 bytes.

โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

งานบูรณาการของโรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๑ จนถึงปัจจุบัน โดยเริ่มจากตัวครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม นำกระบวนการบูรณาการแบบสอดแทรกมาใช้ในรายวิชาทั้งนี้เป็นเพราะเนื้อหาสาระและกระบวนการเรียนรู้ของรายวิชาทางด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาต้องการองค์ความรู้ที่เป็นองค์รวมเพื่อนำการจัดการสิ่งแวดล้อมมาเป็นกระบวนการสร้างความตระหนักให้กับนักเรียนทำงานเพื่อสังคมร่วมกัน  สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงแรกของงานบูรณาการเป็นประสบการณ์ของการจัดการความรู้แบบองค์รวมโดยครูผู้สอนหนึ่งคนมาทำงานร่วมกับชุมชน ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นการทำงานที่ค่อนข้างขาดความสมบูรณ์ในความเป็นทีมงานขององค์รวม นักเรียนไม่เห็นภาพการทำงานแบบมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน
ปีต่อมางานบูรณาการเริ่มพัฒนาการขึ้นเป็นลำดับเป็นการบูรณาการแบบสหวิทยาการและแบบ&nbsp;  หมู่คณะ โดยครูจากหลายกลุ่มสาระมาวางแผนร่วมกันเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนร่วมกัน ได้แก่<br />
๑)บูรณาการ "รักคลองอู่ตะเภา:๒/๒๕๔๕"<br />
๒)บูรณาการ "รักษ์ถิ่น :๒/๒๕๔๖"<br />
๓)บูรณาการ "คลองอู่ตะเภา:๑/๒๕๔๗<br />
๔) บูรณาการ "สานสายใยเพื่อสุขภาพในประเด็นภูมิปัญญารักษาสิ่งแวดล้อม<br />

                                      และภูมิปัญญาสู่สุขภาวะ : ๒/๒๕๔๗
๕)บูรณาการ "หลักและวิธีดำเนินการของ GLOBE สู่งานรักษ์คลองอู่ตะเภา : ๑/๒๕๔๘"
ส่งผลให้หน่วยงานภายนอกเริ่มมองเห็นการทำงานแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์กับชุมชนในตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ชัดเจนขึ้น  และพบว่าเมื่อมีหน่วยงานระดับมหาวิทยาลัยมาร่วมทำวิจัยตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๕ จนถึง ปีการศึกษา ๒๕๔๘ อย่างต่อเนื่อง จำนวน ๓ คนโดยใช้โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์เป็นกรณีศึกษาในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมแบบต่างๆ ของนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ นักศึกษาปริญญาโทดังกล่าวแล้วได้เริ่มเข้ามาทำวิจัยในกระบวนการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาอย่างต่อเนื่องจนเกิดงานวิจัยด้านการสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม โดยเน้นไปที่ประเด็น คลองอู่ตะเภา ทั้งสามคน ขณะนี้งานวิจัยด้านการจัดกระบวนการบูรณาการกำลังเชื่อมโยงออกสู่ระดับสากลมากขึ้นเพราะเริ่มทำวิจัยร่วมกับองค์กร GLOBE ของประเทศไทยซึ่งมี สถาบันการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)เป็นผู้ประสาน และมีทีมงาน GLOBE ภาคใต้เป็นแกนนำ เป็นผลทำให้ทีมงานมีความเข้าใจการจัดการสิ่งแวดล้อมสู่สุขภาวะที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนว่าเป็นเรื่องจำเป็นและต้องจัดประสบการณ์เหล่านี้ให้กับเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ประสบการณ์ที่เป็นทักษะชีวิตและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ขณะที่ภาคสถาบันการศึกษาก็กำลังเดินตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๔  ซึ่งได้กำหนดให้การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคมแห่งการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนหน่วยงานจากองค์กรอิสระเริ่มเข้ามามีบทบาทในการหนุนเสริมให้งานบูรณาการในโรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ ร่วมทำงานแบบองค์รวมกับชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี ๒๕๔๗ เป็นปีที่มีองค์กรอิสระ เข้าสนับสนุนงบประมาณให้พัฒนาโครงการต่างๆ ขึ้นมากมาย อาทิเช่น โครงการสานสายใยเพื่อสุขภาพ  โครงการร่วมฝันน้ำใส ให้ชุมชน  โครงการจิตสำนึกรักษ์คลองอู่ตะเภา  เป็นต้น
โครงการสานสายใยเพื่อสุขภาพ เกิดขึ้นมาได้เพราะทีมงานบูรณาการของโรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ซึ่งประกอบด้วยนักเรียนแกนนำ ครูแกนนำ และชุมชนแกนนำ ร่วมกันพัฒนาแผนงานในรูปแบบการจัดการงานแบบองค์รวมของสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ส่งผลดีต่อสุขภาพของทุกคนในชุมชน โดยชูประเด็นการร่วมทำกิจกรรม การจัดการสิ่งแวดล้อมสู่สุขภาวะ ในรูปแบบต่างๆ แบบสอดรับกัน  ดังเช่น ทีมแกนนำสิ่งแวดล้อมและเกษตรธรรมชาติ ได้ร่วมกันคัดแยกขยะเปียกจากโรงเรียนและในชุมชนของนักเรียนมาจัดทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  และอีเอ็มหมักน้ำซาวข้าว เพื่อใช้เป็นปุ๋ยให้กับงานปลูกพืชผักไร้สารพิษ  ผักที่ได้แกนนำอาหารปลอดภัยนำมาปรุงอาหารให้นักเรียนตามโครงการอาหารกลางวันใช้บริโภคในโรงเรียน ตลอดจนจำหน่ายให้กับบุคลากรภายในโรงเรียนและชุมชน  จนขณะนี้ชุมชนต้องการให้โรงเรียนดำเนินการปลูกผักไร้สารพิษอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปจำหน่ายในตลาดชุมชนเทศบาลตำบลพะตง  อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นับว่าทุกคนเห็นความสำคัญของสุขภาพการบริโภคมาเป็นอันดับแรก  ขณะเดียวกันทีมแกนนำสิ่งแวดล้อมก็นำอีเอ็มหมักน้ำซาวข้าวไปใช้ปรับคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาดุกของทีมเกษตรพอเพียงซึ่งไปดำเนินการในชุมชน ควบกับการปลูกผักแบบไร้สารพิษข้างๆ บ่อเลี้ยงปลา นักเรียนสามารถนำประสบการณ์ตามแนวเกษตรพอเพียงไปขยายผลต่อชุมชนที่สนใจได้ตลอดเวลา และยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มนักเรียนเจ้าของบ่อปลา และประชาชนที่สนใจในละแวกนั้นๆ เพราะทุกคนเห็นกระบวนการเลี้ยงและปลูกพืชได้ว่าไม่ใช้สารเคมีแม้แต่นิดเดียว ทำให้เกิดความมั่นใจในกระบวนปฏิบัติและพอใจผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก กระบวนการของทีมงานสานสายใยเพื่อสุขภาพที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ในการเลิกใช้สารเคมีให้กับเยาวชนและชุมชนอย่างยั่งยืน  นับว่าเป็นการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมชุมชนที่ต้นเหตุ โดยการคัดแยกขยะเปียกจากครัวเรือนที่จะไหลลงสู่ท่อระบายน้ำทิ้งของชุมชนด้วยการนำน้ำซาวข้าวของแต่ละครัวเรือนมาทำอีเอ็มหมักน้ำซาวข้าวเพื่อนำมาบำบัดน้ำเสียครัวเรือนอีกแนวทางหนึ่งด้วย  นอกจากนั้นยังผลิตอีเอ็มบอลออกมาเพื่อใช้บำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำสำคัญของชุมชน เช่น คลองอู่ตะเภา และคลองสาขา เป็นต้น กระบวนการต่างๆ ที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่เป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงเข้าเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะเป็นประสบการณ์ที่จัดเข้าไปเป็นโครงการฟื้นฟูคลองอู่ตะเภาในหลักสูตรบูรณาการที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น "คลองอู่ตะเภา"  ที่กล่าวเช่นนี้เนื่องจาก ท้องถิ่นในละแวกสายคลองอู่ตะเภา สนใจที่จะร่วมกันบำบัดน้ำเสีย และ ทำเกษตรพอเพียงเพื่อขุดบ่อเลี้ยงปลา-ปลูกผักไร้สารพิษตามโครงการเมืองพะตงน่าอยู่เพื่อส่งผลกระทบทางที่ดีให้กับคลองอู่ตะเภาที่เปรียบเป็นสายน้ำแห่งชีวิตของคนจังหวัดสงขลา เพราะน้ำดิบจากคลองอู่ตะเภานำมาผลิตน้ำประปาเลี้ยงคนเมืองนั่นเอง  ทำให้ส่งผลดีต่อทีมงานสานสายใยเพื่อสุขภาพที่จะได้จัดประสบการณ์ที่ดีมีประโยชน์ให้นักเรียนได้เห็นว่า โรงเรียนและชุมชนสามารถร่วมกันจัดการสิ่งแวดล้อมสู่สุขภาวะได้อย่างยั่งยืนด้วยกระบวนการง่ายๆ ดังกล่าวแล้ว นอกจากจะจัดการด้านสิ่งแวดล้อมทางการเกษตรธรรมชาติเพื่อนำมาซึ่งอาหารที่ปลอดภัย หรือ การจัดการสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยแล้ว  เรายังสนใจที่จะเป็นแกนนำในเรื่องการออกกำลังกายเชิงอนุรักษ์เพื่อสุขภาพของทุกคนตั้งแต่โรงเรียนถึงชุมชน  ดังจะเห็นได้จากการทำเวทีร่วมกันของแกนนำนักเรียนและชุมชนที่สนใจด้านกีฬาเพื่อสุขภาพ มาวิเคราะห์ร่วมกันถึงประเภทของกีฬาทางเลือกที่สามารถนำมาเป็นกีฬาเพื่อออกกำลังกายให้กับสมาชิกผู้สนใจภาวะสุขภาพ และกิจกรรมนี้ก็ยังเป็นกิจกรรมที่จัดเข้าไปเป็นสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของกลุ่มสาระ สุขศึกษาและพลศึกษา ทุกระดับชั้นในโรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์  ทำให้ทุกคนมองงานกีฬาเพื่อสุขภาพไปในแนวทางเดียวกันส่งผลให้นักเรียนและชุมชนตระหนักในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพมากขึ้น แนวทางของกระบวนการที่กล่าวมาสามารถนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำองค์ความรู้ และ กระบวนการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่น เรื่อง สานสายใยเพื่อสุขภาพ อันจะทำให้เกิดความยั่งยืนในการทำงานเพื่อร่วมกันจัดการสิ่งแวดล้อมสู่สุขภาวะอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
งานที่จะดำเนินการในภาคเรียนที่๒/๒๕๔๘ ของทีมงานสานสายใยเพื่อสุขภาพ ได้แก่ ๑) การเสวนาเพื่อจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น          "สานสายใยเพื่อสุขภาพ" ที่เชื่อมต่อกับหลักสูตร "คลองอู่ตะเภา" ของเครือข่ายโรงเรียนรักษ์คลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา ๒) การสานต่อโครงการ "เกษตรพอเพียงในชุมชน" เพื่อมุ่งให้เกษตรกรหรือประชาชนในหมู่บ้านต่างๆ เลิกใช้สารเคมี และหันมาปลูกผักเลี้ยงปลาเพื่อนำมาบริโภคกันภายในครัวเรือนตลอดจนสามารถขายได้ และเป็นเกษตรธรรมชาติที่ทุกคนต้องร้องเรียกหาให้เกิดขึ้นในละแวกบ้านตนเอง  เราอาจจะสร้างหมู่บ้านเปลี่ยนวิถี จากการใช้เกษตรสารเคมีมาป็นการใช้เกษตรอินทรีย์ได้อย่างจริงจัง ตามยุทธศาสตร์ของจังหวัดและของประเทศ

ปัจจัยเอื้อ ๑. แหล่งเรียนรู้ "คลองอู่ตะเภา" ใกล้โรงเรียน ๒. งานบูรณาการจัดเป็นนโยบายของโรงเรียนและกระทรวงศึกษาธิการ ๓. ครูผู้จัดกระบวนการเรียนรู้มีความพร้อมในการทำงานเป็นทีม ๔. ชุมชนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมและกิจกรรมสุขภาพชุมชน ๕. หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานท้องถิ่นสนับสนุนกิจกรรม และสนับสนุนงบประมาณ ๖. ผู้บริหารให้การเสริมแรงอย่างต่อเนื่อง ๗. มีนักวิจัยหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาเข้าร่วมศึกษาวิจัยกระบวนการเรียนรู้                     กับครู-นักเรียน-ชุมชนในเรื่องคลองอู่ตะเภาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๕ เป็นต้นมา ๘. โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์เป็นแกนนำในการทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับความ ต้องการของท้องถิ่น "คลองอู่ตะเภา" จึงมีประสบการณ์ในการทำงานด้านการสร้างหลักสูตรที่เป็นของท้องถิ่น

ปัญหาอุปสรรค ๑. การประสานงานระดับภายในองค์กรยังไม่ชัดเจน ๒. กองเลขานุการโครงการยังไม่สันทัดในการทำงานเลขา ๓. ความตระหนักในความ "มีจิตสาธารณะ" ของนักเรียนยังมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับนักเรียน ทั้งโรงเรียน ๔. ขาดศรัทธาในการทำงาน (วิกฤตศรัทธา)ของเพื่อนร่วมงานบางกลุ่ม ๕. ขาดทักษะการจัดการความรู้ในการทำงาน (Knowledge Management) ๖. งบประมาณไม่เพียงพอในช่วงขยายเวลาของแผนงานเกษตรพอเพียง

Comment #1
ดี (Not Member)
Posted @7 ธ.ค. 50 09:47 ip : 61...180

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว