สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

รายงานฉบับสมบูรณ์ บทที่ 5

by wanna @28 เม.ย. 49 15:30 ( IP : 58...99 ) | Tags : สานสายใยเพื่อสุขภาพ
photo  , 332x249 pixel , 56,088 bytes.

บทที่ ๕ สรุปและอภิปรายผล จากการดำเนินงานตามโครงการสานสายใยเพื่อสุขภาพเป็นระยะเวลา ๒ ภาคเรียน ตั้งแต่ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๔๗ จนถึง ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๘ พบว่าสามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้วางไว้ ได้แก่
วัตถุประสงค์ ๑.  นักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและชุมชนมุ่งมั่นการออกกำลังกายเชิงอนุรักษ์เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ยั่งยืน
๒.  นักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและชุมชนร่วมมือร่วมใจสร้างกระบวนการการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ๓. นักเรียน บุคลากร และชุมชนในโรงเรียนหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์เพื่อสุขภาพ ๔. นักเรียน บุคลากร และชุมชนมีสุขภาวะทางร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์และยั่งยืน ๕. นักเรียน บุคลากร และชุมชนร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมทำงานจากภาคีต่างๆ เป้าหมาย • เชิงปริมาณ - นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน-ชุมชน ร่วมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ      ร้อยละ ๙๐ - นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน-ชุมชน  เกิดกระบวนการทำงานแบบมี-    ส่วนร่วมในงานสร้างเสริมสุขภาพ ร้อยละ ๙๐ - นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน-ชุมชน มีสุขภาวะทางร่างกายและจิตใจ        ที่สมบูรณ์และยั่งยืน ร้อยละ ๙๐ • เชิงคุณภาพ - นักเรียน  บุคลากรในโรงเรียนและชุมชน เป็นบุคคลสุขภาพ โดยสามารถสร้างศักยภาพแห่งความสร้างสรรค์

สรุปผล ๑. นักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและชุมชนมุ่งมั่นการออกกำลังกายเชิงอนุรักษ์เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ยั่งยืน และเสริมสร้างการดูแลสุขภาพ ได้ร้อยละ ๘๐ นับว่าเป็นจำนวนที่ น่าพึงพอใจ เพราะกิจกรรมตามแผนงานนี้บรรจุเข้าไปในหลักสูตรของโรงเรียนทุกระดับชั้นโดยเน้นความเข้าใจและนำไปปฏิบัติของพฤติกรรมการออกกำลังกายส่วนบุคคล ตลอดจนในชุมชนทุกชุมชนก็เน้นการออกกำลังกายชุมชน ทำให้โอกาสที่พะตงจะเดินหน้าสู่สังคมสุขภาวะ มีความเป็นไปได้สูง ๒. นักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและชุมชนร่วมมือร่วมใจสร้างกระบวนการการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ร้อยละ  ๘๐  โดยจำแนกตามกิจกรรมที่นักเรียนแกนนำร่วมกันจัดทำทั้งในและนอกชุมชน จนส่งผลให้เป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของโรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์  อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต ๒ ว่าเป็นโรงเรียนที่มีผลงานดีเด่นด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชน ทำให้ได้รับโล่รางวัลโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.๒๕๔๗ จากระดับภาคเข้าสู่ระดับประเทศ  ได้รับโล่รางวัลกลุ่มเยาวชนที่มีผลงานดีเด่นในการจัดการสิ่งแวดล้อมระดับประเทศ  ยังผลให้ทีมงานมีความภาคภูมิใจต่อรางวัลที่ได้รับ  และสุดท้ายเป็นโรงเรียนแกนนำในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น "คลองอู่ตะเภา" ของเครือข่ายโรงเรียนรักษ์คลองอู่ตะเภา ซึ่งมีโรงเรียนที่นำไปใช้แล้วเป็นจำนวน มากกว่า ๕๐ โรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต ๑-๓  และได้เผยแพร่ไปยังสถาบันการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในด้านหลักสูตรบูรณาการ "รักษ์คลองอู่ตะเภา" เพื่อเชื่อมโยงไปยังหลักสูตรบูรณาการ GLOBE ของ สสวท. ๓. พบว่านักเรียน บุคลากร และชุมชนในโรงเรียนเข้าใจการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์เพื่อสุขภาพมากขึ้นเป็นร้อยละ ๖๐  และส่งเสริมให้นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน เช่นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ลดน้อยลง  ชุมชนมุ่งเน้นให้โรงเรียนปลูกผักไร้สารพิษให้มากขึ้น และทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาจัดจำหน่ายในชุมชน โดยที่เทศบาลตำบลพะตงสนับสนุนให้เกษตรกรมุ่งเน้นการทำเกษตรอินทรีย์เพราะเทศบาลได้สร้างโรงปุ๋ยชีวภาพในนาม "สหการเกษตรยั่งยืน" และมาส่งเสริมกิจกรรมทำปุ๋ยหมักชีวภาพของนักเรียนอยู่ตลอดเวลา โดยมาในรูปของวิทยากรสอนให้บุคลากรในโรงเรียนทั้งครูและนักเรียนเข้าใจและลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ๔. นักเรียน บุคลากร และชุมชนมีสุขภาวะทางร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์มากขึ้น ร้อยละ ๙๐  แกนนำในชุมชนที่ทำงานทางด้านสาธารณสุข (อสม.)หันมาร่วมมือกับโรงเรียนในการดูแลสุขภาพของชุมชนร่วมกัน โดยเน้นการสร้างสุขภาพ นำการซ่อมสุขภาพ  ทีมงานในโรงเรียนและในชุมชนไปร่วมเป็นวิทยากรการออกกำลังกายตามโอกาสที่เหมาะสม  เช่น  ลีลาศ โยคะ แอโรบิค เป็นต้น ๕. นักเรียน บุคลากร และชุมชนร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมทำงานจากภาคีต่างๆ ร้อยละ ๙๕ ทุกคนในทีมงานเข้าใจการทำงานในยุคการทำงานแบบมีส่วนร่วมมากขึ้น ที่ต้องอาศัย  "คุณ -อำนวย" มากกว่า "คุณอำนาจ" และต้องทำงานเป็นทีมจึงจะประสบความสำเร็จ ที่สำคัญต้องมีการจัดการความรู้ทุกครั้งที่เสร็จงานเพื่อสรุปบทเรียนที่ได้ และจะได้นำความรู้หรือประสบการณ์ที่มีประโยชน์มาเป็นแนวทางในการทำงานลักษณะอื่นๆ
อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ กระบวนการเรียนรู้ของการทำงานแบบมีส่วนร่วมในโครงการสานสายใยเพื่อสุขภาพ นับได้ว่าเป็นรูปแบบการทำงานบูรณาการที่ผูกร้อยงานต่างๆ จากห้องเรียนไปสู่งานของฝ่ายต่างๆในโรงเรียนและเชื่อมต่อไปยังงานในประเด็นสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม  ทำให้ทีมงานเกิดแนวคิดที่จะจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น "สานสายใยเพื่อสุขภาพ" เพราะสังเกตจากผลการปฏิบัติตามแนวทางที่วางแผนในโครงการสามารถจัดทำหลักสูตรบูรณาการได้ทุกระดับตั้งแต่ บูรณาการแบบสอดแทรก  บูรณาการแบบคู่ขนาน บูรณาการแบบสหวิทยาการ และระดับสุดท้าย คือ บูรณาการแบบหมู่คณะ  ที่สำคัญคือ สามารถจัดบูรณาการข้ามช่วงชั้นแบบหมู่คณะ  ยิ่งทำให้เกิดงานเกษตรธรรมชาติที่เป็นภาพการประสานงานของโรงเรียนและชุมชนชัดเจนขึ้น และทำให้ทุกคนได้ร่วมกันช่วยงานจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนโดยเริ่มตั้งแต่คัดแยกขยะมาทำน้ำหมักชีวภาพ และนำมาบำบัดน้ำเสียในครัวเรือน หรือนำไปเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี หรือแม้แต่ผลิตสารขับไล่แมลงทดแทนการใช้ยากำจัดศัตรูพืชที่เป็นสารเคมี  หากทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่เป็นเกษตรกรมีความตระหนักในด้านผลกระทบที่จะเกิดกับสุขภาพตนเองและผู้คนรอบข้าง โดยเลิกใช้สารเคมีในรูปแบบต่างๆ ผู้บริโภคในละแวกนั้นๆก็จะได้รับสิ่งที่ดีมีคุณค่าส่งผลดีต่อสุขภาพของทุกคน ทำให้ทุกคนบริโภคอาหารที่ปลอดภัยไร้สารพิษกันอย่างจริงจัง  เมื่อสุขภาพดีจากอาหาร และเสริมสร้างสุขภาพดีด้วยการออกกำลังกายกันอย่างสม่ำเสมอ ทุกคนจะได้เป็นผู้ที่อยู่ในสังคมสุขภาวะจริงๆ  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากผู้ใหญ่ทุกคนเข้าใจกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณค่าทางสุขภาพแล้วมาให้ความร่วมมือกัน ผู้ใหญ่ใจดีทุกคนในแต่ละภาคส่วนก็จะสามารถทำให้เยาวชนมีแนวทางการทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและต่อสังคมรอบข้าง และชวนเชิญเพื่อนร่วมสังคมหันมาทำตนให้เป็นประโยชน์ เป็นคน "จิตสาธารณะ" อยู่ในสังคมแบบ "ผู้ให้"  เยาวชนเหล่านั้นจะเป็นผู้นำที่ดีของสังคม ประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกับชุมชนพะตงในด้านการทำงานแบบมีส่วนร่วมของโครงการต่างๆ ในปี ๒๕๔๘-๒๕๔๙ หลังจากที่มีการสนับสนุนจากเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา ภายใต้ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในโครงการสานสายใยเพื่อสุขภาพ ในช่วงปี ๒๕๔๗-๒๕๔๘ ได้แก่ ๑) โครงการเมืองพะตงน่าอยู่  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่ จำนวน  ๓๐๐,๐๐๐ บาท ๒) โครงการหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่นแบบบูรณาการสู่สุขภาวะ "รักษ์คลอง อู่ตะเภา" ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่ จำนวน  ๒๐๐,๐๐๐ บาท ๓) โครงการ ลดเมืองร้อนด้วยมือเรา ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยร่วมกับบริษัทโตโยต้า แห่งประเทศ จำนวน  ๘๐,๐๐๐ บาท ๔) โครงการขยายเครือข่ายสถานศึกษาที่มุ่งพัฒนาบุคลากรสู่ยุคปฏิรูปการเรียนรู้(เน้นการวิจัยในชั้นเรียน)  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสถาบันพัฒนาครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา  ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม      จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาทต่อปี
๕) โครงการวิจัยของนักเรียนร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จาก GLOBE ภาคใต้ เรื่อง ผลของอีเอ็มบอลต่อคุณภาพน้ำคลออู่ตะเภา จังหวัดสงขลา  ซึ่งเป็นโครงการชนะการประกวดจาก สสวท. ให้เป็นอันดัน ๑ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั่วประเทศ ๖) โครงการเปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ ในแผนงานย่อยการพัฒนาและการนำนวัตกรรมทางการศึกษาจากห้องปฏิบัติการคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ สู่โรงเรียนเครือข่าย

จากผลที่เกิดตามมาหลังจากทำโครงการดังที่กล่าวแล้วพบว่าทีมงานได้รับประสบการณ์ที่คุ้มค่ากับความเหนื่อยที่ต้องทำงานหลายทาง ซึ่งพยายามจะปรับหรือพัฒนากระบวนการบูรณาการให้มีกระบวนการสั้นที่สุดแต่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อที่จะได้มั่นใจในประเด็นของความเป็นโรงเรียนบูรณาการอย่างแท้จริง

Comment #1
5/3น่ารัก (Not Member)
Posted @15 ธ.ค. 50 17:26 ip : 61...3

ความคิดดีมากเลยนะ  เด็นพะตงก็น่ารัก  5/3นะ

Comment #2
5/3ปี50 (Not Member)
Posted @15 ธ.ค. 50 17:30 ip : 61...3

นักเรียนชั้น ม5/3 น่ารักมากเลย โดยเฉพาะผุ้ชายที่ชื่อ  บอส จอม บิ๊ก  ส่วนผู้หญิงก็มี  เจิน  น้ำ  บาส  โม  เกตุ นุช ที่สำคัญ ต้องแม้มคนนี้

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว