สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

รายงานฉบับสมบูรณ์ บทที่ 2

by wanna @28 เม.ย. 49 15:15 ( IP : 58...99 ) | Tags : สานสายใยเพื่อสุขภาพ
photo  , 240x180 pixel , 37,461 bytes.

บทที่ ๒ วิธีดำเนินการ • ขั้นวางแผน  มีรายละเอียดดังนี้ ๑. ประชุมวางแผนร่วมกันของทีมงาน(ครู-นักเรียน-ผู้บริหาร-ชุมชน) เพื่อนำเสนอโครงการสานสายใยเพื่อสุขภาพ ๒. เขียนและพัฒนาโครงการให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ๑-๒ ครั้ง ๓. เตรียมประสานงานผู้เกี่ยวข้องในการจัดทำเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
๔. เตรียมประสานงานวิทยากรในการเชิงอบรมปฏิบัติการ ๕. เตรียมประสานงานเรื่องสถานที่ในการจัดเวที และ การอบรมเชิงปฏิบัติการ ๖. เตรียมประสานยานพาหนะให้ทีมงานไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายนอกชุมชน ๗. เตรียมจัดหาวัสดุที่จำเป็นในการดำเนินการตามโครงการ • ขั้นดำเนินการ กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ  (ตลอดการทำโครงการ) ๑. การทำกิจกรรมนี้จะใช้เวทีช่วงกิจกรรมหน้าเสาธงของโรงเรียนทุกวันพุธ
๒. การจัดรายการเสียงตามสายของโรงเรียนและชุมชน
๓. เวทีการประชุมประจำเดือนของชุมชนรอบโรงเรียน กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง สานสายใยเพื่อสุขภาพ  (เวลา ๒ วัน) ๑. รับสมัครตัวแทนนักเรียนอาสาสมัครห้องละ  ๕  คน  จากทุกระดับชั้นและทุกห้อง เพื่อเป็นสมาชิกเครือข่ายนักเรียนกลุ่มสานสายใยเพื่อสุขภาพ
ม.ต้น จำนวน ๓๐ ห้องๆละ  ๕  คน  รวมเป็น  ๑๕๐  คน ม.ปลาย จำนวน  ๑๘ ห้องๆละ  ๕  คน รวมเป็น  ๙๐  คน ๒. รับสมัครตัวแทนผู้ปกครองของนักเรียนเครือข่ายฯ  ๕๐ ท่าน (อย่างน้อยห้องละคน) ๓. รับสมัครครู-บุคลากรที่สนใจเพิ่มเติม จำนวน  ๕๐ ท่าน (ควรกระจายทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้) ๔. ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง สานสายใยเพื่อสุขภาพ ใช้เวลา ๒ วัน โดยแบ่งเป็น ๓ ฐาน ดังนี้
๔.๑  ฐานออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ๔.๒  ฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ครัวเรือนและชุมชน ๔.๓  ฐานเกษตรเพื่อสุขภาพ     โดยผู้เข้าอบรมต้องผ่านทุกฐานใช้เวลาฐานละครึ่งวัน และสุดท้ายทุกคนจะมารวมฐานกลุ่มใหญ่ ๕. รวบรวมสรุปผลการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อนำความรู้และทักษะที่ได้ไปปฏิบัติที่บ้านและชุมชนของตนเองรวมถึงภายในโรงเรียน กิจกรรมปฏิบัติการออกกำลังกายเชิงอนุรักษ์  (ตลอดโครงการ) ๑.  จัดทำบัตรนักเรียนสานสายใยสุขภาพ ให้กับนักเรียนเครือข่ายและนักเรียนสมาชิกของเครือข่าย ๒. เครือข่ายไปเชิญชวนเพื่อนนักเรียนในห้องมาร่วมกิจกรรมทุกวัน ศุกร์(คาบกีฬา)โดยเป็นความร่วมมือกันของทุกฝ่ายที่จะรณรงค์การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง  (มีการสะสมแต้มการออกกำลังกายให้กับสมาชิก และมีรางวัลเมื่อทำแต้มสะสมได้ถึง) ๓. ประเภทของการออกกำลังกายจะมุ่งเน้นการออกกำลังกายที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ประกอบเพื่อให้ทุกคนสามารถนำทักษะนี้ไปใช้ได้ในทุกสถานที่ เช่น การฝึกโยคะ ,    แอโรบิกแผนไทย , การละเล่นพื้นบ้านต่างๆ , ลีลาศ,รำไทย

กิจกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน(ตลอดโครงการ) ๑. จัดแบ่งกลุ่มเครือข่ายเพื่อรับผิดชอบการผลิตน้ำหมักชีวภาพ , ปุ๋ยหมักชีวภาพ ,สารขับไล่แมลงชีวภาพ , EM Ball ๒. เครือข่ายผู้รับผิดชอบดำเนินการคัดแยกขยะเปียกในโรงเรียนและในชุมชนไปผลิตน้ำหมักชีวภาพตามสูตรที่ตนต้องการ โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลิตภัณฑ์มาใช้บำบัดน้ำเสียในบริเวณคูน้ำโรงเรียน หรือ นำไปใช้ในครัวเรือนตนเอง ๓. เครือข่ายผู้รับผิดชอบดำเนินการคัดแยกขยะประเภทใบไม้จากโรงเรียนและชุมชนไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อนำปุ๋ยกลับมาใช้ในด้านการเกษตรของโรงเรียนและชุมชน ๔. เครือข่ายผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดทำสารขับไล่แมลงชีวภาพเพื่อให้เครือข่ายเกษตรนำไปใช้ในการดูแลพืชผักของโรงเรียนและชุมชน ๕. เครือข่ายผู้รับผิดชอบในโรงเรียนและชุมชนดำเนินการผลิต EM Ball เพื่อนำมาใช้บำบัดน้ำเสียของโรงเรียนและชุมชน โดยเน้นน้ำเสียที่ไหลตลอดเวลา
กิจกรรมเกษตรชีวภาพและอาหารปลอดสารพิษ(ตลอดโครงการ) ๑. เครือข่ายผู้รับผิดชอบประสานงานกับนักเรียนที่โครงการสุขภาพชุมชนพืชผลท้องถิ่น เพื่อร่วมกันปลูกผัก และพืชสมุนไพรที่เน้นกระบวนการเกษตรชีวภาพ และใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ตลอดจนปุ๋ยหมักชีวภาพที่เพื่อนเครือข่ายสิ่งแวดล้อมจัดทำไว้แล้วมาใช้ในการดูแลรักษาต้นพืช ๒. ครูเครือข่ายนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนหาสูตรน้ำสมุนไพรยอดนิยม และ อาหารสมุนไพรจานเด็ด ๓. ผู้ปกครองเครือข่ายที่สนใจและปลูกสมุนไพรที่บ้าน ชักชวนเพื่อนบ้านหรือบุตรหลานมาร่วมทำเกษตรชีวภาพในครัวเรือน • ขั้นสรุปผล กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (เดือนละครั้ง) เครือข่ายนักเรียน ,ครู ,บุคลากร ตลอดจนชุมชน เมื่อผ่านการได้รับความรู้ในเชิงปฏิบัติการจากการอบรม หรือจากการประชาสัมพันธ์อื่นๆ  จนกระทั่งเมื่อลงมือปฏิบัติไปในกิจกรรมที่ตนสนใจ  ก็ต้องมีสิ่งที่อยากถาม อยากบอก หรือ อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนสมาชิก  ทีมงานจะใช้ช่วงการจัดเวทีมาเป็นการรวบรวมสภาพปัญหาการปฏิบัติงาน หรือข้อเสนอแนะจาก การปฏิบัติงานมาใช้พัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนของการร่วมสร้างสุขภาวะของชุมชนจึงได้จัดกิจกรรมเปิดเวทีผู้สนใจในประเด็นต่างๆ ดังนี้

๑. เวทีออกกำลังกายเพื่อสุขภาวะ (เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๗) ๒. เวทีนักสิ่งแวดล้อมศึกษา (เดือนธันวาคม ๒๕๔๗) ๓. เวทีเครื่องดื่มสุขภาพ  (เดือนมกราคม ๒๕๔๘) ๔. เวทีอาหารสุขภาพ  (เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๘) ๔.    เวทีขุดทองจากมูลฝอย (เดือนมีนาคม ๒๕๔๘) ๕.    เวทีสุขภาวะชุมชน (เดือนเมษายน ๒๕๔๘) กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับแกนนำภาคีอื่นๆ ในชุมชน (สองเดือนต่อครั้ง) ในการทำงานด้านสุขภาพมีความจำเป็นต้องเรียนรู้ร่วมกันในหลายๆ ภาคีเพื่อที่ทุกคนสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้มาใช้ในการปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิต  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานศึกษาด้วยแล้ว  ยิ่งต้องหาทักษะประสบการณ์ในเรื่องการทำงานแบบมีส่วนร่วมให้มากที่สุดเพราะจะต้องนำทักษะประสบการณ์นี้ไปจัดเป็นกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนและของสถานศึกษาที่เชื่อมโยงกับศักยภาพของชุมชนนั้นๆ  ทีมงานจึงจะนำสมาชิกเครือข่ายที่เป็นตัวแทนของนักเรียน - ครู - บุคลากรในโรงเรียน - บุคลากรในชุมชน ไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภาคีต่างๆ ดังนี้ ๑.    ภาคีกลุ่มออกกำลังกาย ๒.  ภาคีกลุ่มเกษตรสุขภาพ ๓.  ภาคีกลุ่มศิลปะสุขภาพ

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว