สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

รายงานฉบับสมบูรณ์ บทที่ 3

by wanna @28 เม.ย. 49 15:22 ( IP : 58...99 ) | Tags : สานสายใยเพื่อสุขภาพ
photo  , 240x180 pixel , 32,577 bytes.

บทที่ ๓ ผลการดำเนินการ ก้าวย่างการบูรณาการเพื่อการเรียนรู้:สู่สานสายใยเพื่อสุขภาพ

โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์เป็นโรงเรียนประจำตำบลขนาดใหญ่&nbsp; ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนตำบล พะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีนักเรียนจำนวน ๑,๖๐๐ คน ครูและบุคลากร จำนวน ๑๐๑ คน แบ่งการสอนเป็น ๒ ช่วงชั้น คือช่วงชั้นที่ ๓ (ม.๑-ม.๓)จำนวน ๓๐ ห้องเรียน ช่วงชั้นที่ ๔(ม.๔-ม.๖)จำนวน ๑๘ ห้องเรียน&nbsp;  โดยเปิดทำการเรียนการสอนมาเป็นระยะเวลา ๒๓ ปี&nbsp;  เป็นนักเรียนจากในพื้นที่เป็นจำนวน&nbsp;  ร้อยละ ๗๐<br />
แหล่งเรียนรู้ที่พบในพื้นที่เป็นชุมชนที่มีโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ริมแหล่งน้ำสาธารณะ ได้แก่ คลองอู่ตะเภา และขณะเดียวกันก็เป็นชุมชนเกษตรกรรม อาทิ สวนยางพารา สวนผลไม้ และผักสวนครัว เป็นต้น ทำให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจของครูหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้ สามารถนำมาจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับนักเรียนทั้งสองช่วงชั้นได้ เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัวและส่งผลดีต่อสุขภาพของทุกคนในชุมชน

ตามแนว พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ๒๕๔๒ -๒๕๔๔ โรงเรียนมุ่งเน้นการทำงานตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ เพราะเป็นกฎหมายที่กระตุ้นให้ครูตื่นตัวหันกลับมามองแผนการจัดการเรียนรู้ให้เป็นสภาพจริงของคำว่า "นักเรียนเป็นสำคัญ"ให้มากที่สุด  ซึ่งเป็นช่วงจังหวะการเริ่มต้นก้าวไปสู่การเรียนรู้เพื่อบูรณาการการเรียนรู้ที่น่าสนใจยิ่ง

ปัจจัยเอื้อ ๑. แหล่งเรียนรู้ "คลองอู่ตะเภา" ใกล้โรงเรียน ๒. เป็นนโยบายของโรงเรียนและกระทรวงศึกษาธิการ ๓. ครูผู้จัดกระบวนการเรียนรู้มีความพร้อม ๔. ชุมชนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ๕. หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานท้องถิ่นสนับสนุนกิจกรรม และสนับสนุนงบประมาณ ๖. ผู้บริหารให้การเสริมแรงอย่างต่อเนื่อง ๗. มีนักวิจัยหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาเข้าร่วมศึกษาวิจัยกระบวนการเรียนรู้ กับครู-นักเรียน-ชุมชนในเรื่องคลองอู่ตะเภาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๕ เป็นต้นมา กระบวนการจัดกิจกรรมบูรณาการ ปีการศึกษา ๒๕๔๑ - ๒๕๔๘ ๑. ปีการศึกษา ๒๕๔๑-๒๕๔๓ กิจกรรมบูรณาการที่เป็นรูปธรรม เริ่มจากตัวครูผู้สอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม จัดบูรณาการแบบสอดแทรกในรายวิชาตนเอง ๑.๑  ศึกษาแนวคิดทางการศึกษาทุกรูปแบบ ทั้งของนักการศึกษาและปราชญ์ชาวบ้าน ๑.๒ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเวทีชุมชน ตลอดจนองค์กรต่างๆ ทั้งในระบบและ         นอกระบบ ๑.๓ นำประสบการณ์และกิจกรรมที่ได้มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียน       ผลที่ได้
นักเรียนได้รับประสบการณ์เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสิ่งแวดล้อมชุมชนรอบตัวจากกิจกรรมในรายวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
นักเรียนได้คิดทำโครงงานที่มีประโยชน์ต่อการดูแลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
๒. ปีการศึกษา ๒๕๔๔  โรงเรียนมีนโยบายให้ครูและนักเรียนแต่ละหมวดวิชาจัดแหล่งเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม จึงวางแผนร่วมกับนักเรียนในการจัดทำแหล่งเรียนรู้ดังกล่าว โดยนักเรียนรับทำแหล่งเรียนรู้แตกต่างกันไปตามที่ได้ไปศึกษาเรียนรู้มาจากนอกสถานที่
      ผลที่ได้ ม.๔/๑  จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์แก้ปัญหาน้ำเสียที่มาจากโรงอาหารโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ EM มากำจัดไขมันทั้งในระดับห้องปฏิบัติการ (lab scale) และการทดลองในภาคสนามโดยใช้บ่อดักไขมันของโรงเรียนเป็นกรณี ตัวอย่าง ตลอดจนคิดหาวิธีการสร้างสิ่งประดิษฐ์เพื่อใช้ป้องกันไขมันไม่ให้ลงสู่คูระบายน้ำ หรือให้มีให้น้อยที่สุด
ม.๔/๒ จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ "ต้นไม้พูดได้" โดยได้แบ่งพื้นที่รับผิดชอบให้ครอบคลุมทุกบริเวณของโรงเรียนและสำรวจชื่อต้นไม้ในบริเวณที่  รับผิดชอบและจัดทำป้ายนิเทศต้นไม้ต่างๆ โดยระบุให้มีรายละเอียดให้มากกว่า "ชื่อ" เช่นหากเป็นต้นไม้สมุนไพร ก็ให้ระบุ สรรพคุณ  หากเป็นต้นไม้ในวรรณคดี ก็ให้อ้างชื่อวรรณคดีดังกล่าว  เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ได้จริงๆ  เป็นต้น ม.๔/๓ จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบของปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนพะตงซึ่งเป็นชุมชนอุตสาหกรรม  โดยนักเรียนดำเนินการจัดทำชุมชนพะตงจำลองขึ้นที่บริเวณสระน้ำหน้าหมวดวิทยาศาสตร์ ซึ่งใช้เป็นตัวแทนของแหล่งน้ำที่มีโรงงานและชุมชนอยู่ริมน้ำ  และจัดทำป้ายนิเทศเพื่อแสดงรายละเอียดของชุมชนจำลอง ม.๔/๔  จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน โดยการนำขยะใบไม้มา      รีไซเคิลทำเป็นปุ๋ยหมักเพื่อใช้ประโยชน์กับงานเกษตรในโรงเรียน และจะได้ใช้ไขมันที่เก็บกักไว้ในบ่อดักไขมันมาใช้ให้เป็นประโยชน์แทนที่จะทิ้งไปกับขยะอื่นๆ  โดยใส่ลงไปในกองปุ๋ยหมักและเพื่อจะได้ช่วยย่อยสลายใบไม้ให้เปื่อยเร็วขึ้น  และการนำขยะประเภทกระดาษจากสำนักงานและหมวดวิชาต่างๆ ในโรงเรียนมาทำกระดาษรีไซเคิล  โดยเน้นการทำกระดาษหนาๆ (บอร์ดรีไซเคิล)เพื่อใช้แทน  ฟิวเจอร์บอร์ด ม.๔/๕  จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาระบบนิเวศบริเวณสระน้ำหน้าอาคารประชาอุทิศที่เริ่มมีการเน่าเสีย โดยให้นักเรียนกลุ่มนี้ จัดหาสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์มาเลี้ยงในสระดังกล่าว และต้องจัดหามาเพิ่มเติมในกรณีที่ระบบเริ่มเปลี่ยนแปลงตลอดปีการศึกษา ๒๕๔๔  และต้องจัดทำป้ายนิเทศเพื่อระบุชนิดของสิ่งมีชีวิตตลอดจนบ่งบอกความสัมพันธ์ในระบบนิเวศของสระน้ำนั้นๆ ม.๔/๖  จัดทำมุมส่องนกในชุมชนพะตง โดยช่วงแรกจัดทำป้ายนิเทศรายละเอียดเกี่ยวกับนกที่นักเรียนเคยพบในโรงเรียนและในละแวกบ้านที่อาศัยในชุมชนพะตง  และนักเรียนกลุ่มนี้ต้องรับหน้าที่ในการให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียนที่สนใจส่องนกโดยจะจัดเวรกันตลอดปีการศึกษา ๒๕๔๔ ชุมนุมรักษ์สิ่งแวดล้อม  จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน โดยการแยกขยะประเภทกระดาษที่ใช้แล้วหน้าเดียวให้นำมาใช้ใหม่ และกระดาษที่ใช้แล้วสองหน้ามารีไซเคิลเพื่อจัดทำเป็น "บอร์ดรีไซเคิล"  เพื่อจะได้นำมาบริการให้กับกลุ่มนักเรียนที่ต้องการใช้กระดาษสี/    ฟิวเจอร์บอร์ดเพื่อจัดป้ายนิเทศในงานต่างๆ  ซึ่งคาดว่าจะได้ลดงบประมาณการจัดซื้อลงได้พอสมควร กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม  จากนักเรียน ม.๔/๑  จัดทำโครงการนักสืบสายน้ำ  โดยการสำรวจและเก็บข้อมูลทางด้านกายภาพและชีวภาพจากบริเวณลำน้ำในละแวกชุมชนพะตง ที่มีสายน้ำไหลผ่าน  โดยเน้นการศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลจาก ๑) บริเวณลำน้ำที่ยังไม่ผ่านเขตโรงงานอุตสาหกรรม         ๒)บริเวณลำน้ำที่ผ่านเขตโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว

๓. ปีการศึกษา ๒๕๔๕ ชวนชุมชนเข้าเป็นครูให้กับนักเรียนเพื่อศึกษาคุณภาพน้ำคลองอู่ตะเภาและวิถีชีวิตคนริมคลองอู่ตะเภา       ผลที่ได้ นักเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ว ๔๑๑ ได้รับประสบการณ์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับชุมชนทั้งในและนอกโรงเรียน ใน เรื่อง กิจกรรมรักคลอง อู่ตะเภา นักเรียนกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม หรือ "กลุ่มนักสืบสายน้ำคลองอู่ตะเภาตอนกลาง" ตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยใช้กระบวนการ "นักสืบสายน้ำ" ของมูลนิธิโลก  สีเขียว ในช่วงนอกเวลาราชการ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จุดประกายให้กับ ผู้ใหญ่ใจดีจาก ชมรมรักษ์คลองอู่ตะเภาและศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา คณะวิทยาศาสตร์  สหกรณ์ออมทรัพย์ มอ.หาดใหญ่ และศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาจังหวัดสงขลา ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการตรวจวัดคุณภาพน้ำทางฟิสิกส์ เคมี และชีวภาพ คลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา ทำให้เกิดเครือข่ายครูโรงเรียนรักษ์คลองอู่ตะเภา จำนวน ๑๗ โรงเรียน
นักเรียนได้เข้าร่วมทำโครงการค่ายเรียนรู้เพื่อกอบกู้สายน้ำ ร่วมกับทีมงานจากศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาจังหวัดสงขลาในช่วงปิดภาคเรียน ทำให้ได้ประสบการณ์ การศึกษาชุมชนจากกระบวนการค่าย เครือข่ายโรงเรียนรักษ์คลองอู่ตะเภาจำนวน ๗ โรงเรียน ที่มีกิจกรรมเฝ้าระวังคุณภาพน้ำคลองอู่ตะเภาตลอดสายน้ำ โดยแบ่งจุดเก็บตัวอย่างเป็น ๗ สถานี ได้แก่ บริเวณต้นน้ำโดย โรงเรียนชาติตระการโกศล  โรงเรียนกอบกุลวิทยาคม และโรงเรียนท่าโพธิ์  บริเวณกลางน้ำ โดยโรงเรียนวัดม่วงก็อง  โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ บริเวณปลายน้ำ โดย โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ โรงเรียนเกาะแต้วพิทยาสรรค์ และโรงเรียนบ้านแม่ทอม มีการวางแผนและใช้กระบวนการร่วมกันในงานวิจัยของ น.ส.วิลาวัลย์ มีพัฒน์ จากคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มอ.หาดใหญ่  เรื่อง การสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมโดยใช้บทเรียนโมดูล เรื่อง คลองอู่ตะเภา : กรณีศึกษา โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ อ.หาดใหญ่    จ.สงขลา โดยครูในรายวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเป็นผู้ใช้กระบวนการกับนักเรียน ผลที่ได้ของงานวิจัยบทเรียนโมดูล เรื่อง คลองอู่ตะเภา ๑. นักเรียนมีความพึงพอใจในกระบวนการอยู่ในระดับดีมาก เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบตัวด้วยการปฏิบัติจริงในภาคสนาม ๒. ครูผู้ใช้กระบวนการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก เนื่องจากเป็นการใช้แหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในชุมชนของนักเรียน และสามารถทำให้นักเรียนเข้าใจสภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงในชุมชน ๓. โรงเรียนและผู้บริหารมีความพึงพอใจในระดับดีมาก เนื่องจากสามารถทำให้โรงเรียนจัดการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งใช้แหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนเพื่อสร้างจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน ๔. ชุมชนมีความพึงพอใจในระดับดีมาก เนื่องจากชุมชนมองเห็นความต่อเนื่องในการนำนักเรียนเข้าทำกิจกรรมตรวจวัดคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำของชุมชนทั้งคลองอู่ตะเภาและคลองสาขา ๕.       ปีการศึกษา ๒๕๔๖ ชวนเพื่อนครูที่สนใจการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและชวนชุมชนที่เกี่ยวข้องมาร่วมเป็นครูให้กับนักเรียนในรายวิชา "รักษ์คลองอู่ตะเภา ว๔๑๒๐๑" ซึ่งได้นำกระบวนการที่ได้จากการทำวิจัย เรื่อง การสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมโดยใช้บทเรียนโมดูล เรื่อง คลองอู่ตะเภา มาเป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียนด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชนและรายวิชาที่ร่วมบูรณาการทั้งระดับชั้น ม.๔       ผลที่ได้ ครูผู้สอนมีความมั่นใจในกระบวนการจัดประสบการณ์ในเรื่อง "รักคลองอู่ตะเภา"มากยิ่งขึ้นเนื่องจากมีผลการวิจัยมารองรับ ประกอบกับใช้ระยะเวลาในการทดลองกับนักเรียนด้วยตนเองมาเป็นช่วงเวลา ๕ ปี ทำให้เชื่อมั่นในองค์ความรู้ที่นักเรียนจะได้รับ นักเรียนที่ได้รับประสบการณ์จากกระบวนการดังกล่าวสามารถจัดทำโครงการที่ช่วยฟื้นฟูคลองอู่ตะเภาในระดับหนึ่ง ซึ่งมุ่งเน้นทางด้านการตรวจวัดคุณภาพน้ำคลองอู่ตะเภา เพื่อเป็นการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ และร่วมมือกับชุมชนในการทำเวทีชุมชนเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตคนริมคลองอู่ตะเภา ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเป็นจำนวน ๔ เวที ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๔๖ เพื่อนครูในระดับชั้น ม.๔ จำนวน ๑๔ รายวิชาของ ๗ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้เข้าร่วมจำนวน ๑๗ คน เข้าร่วมกิจกรรมบูรณาการ "รักษ์ถิ่น" นับเป็นการนำกระบวนการบูรณาการรายวิชาจากแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้มาวางแผนร่วมกันจนได้ประเด็นร่วม คือ "รักษ์ถิ่น" เมื่อนักเรียนได้วางแผนการทำงานร่วมกับครูเรียบร้อยจะลงไปดำเนินการสำรวจและเก็บข้อมูลจากชุมชนในทุกมิติ เช่น วิถีชีวิต  ชาวพุทธตัวอย่าง  คุณภาพน้ำคลองอู่ตะเภา  โภชนาการคนริมคลอง เป็นต้น
ได้ทำกิจกรรมล่องคลองอู่ตะเภา ร่วม สหกรณ์ออมทรัพย์ มอ.หาดใหญ่ ตั้งแต่ช่วงคลองอู่ตะเภาตอนกลางไปจนถึงตอนปลายบริเวณแหลมโพธิ์ พร้อมกับร่วมเวทีเสวนาชาวบ้านกับชุมชนที่เราล่องเรือไปถึง ได้รับการประสานงานจากหน่วยงานที่สนใจงานดูแลสิ่งแวดล้อมชุมชนให้ไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เช่น เวทีพลังชุมชน พลังท้องถิ่น และพลังเมืองน่าอยู่  ของการสัมมนาเชิงปฏิบัติการประจำปี ๒๕๔๖ ณ กรุงเทพมหานคร ได้รับเชิญเป็นวิทยากรด้านจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ "รักษ์คลองอู่ตะเภา" ทั้งในระดับภาคและระดับประเทศ เช่น งานเสวนาสิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่นและงานเสวนาสิ่งแวดล้อมระดับชาติ ครั้งที่ ๒ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรกระบวนการในการจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาร่วมกับทีมเครือข่ายรักษ์ทะเลน้อยประกอบด้วย ๓ จังหวัด (พัทลุง ,นครศรีธรรมราช ,สงขลา)

๖. ช่วงภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๗ ชวนปราชญ์ชุมชนเข้าร่วมคิดวางแผนทำหลักสูตร "รักษ์คลองอู่ตะเภา" ของเครือข่ายโรงเรียนรักษ์คลองอู่ตะเภา และร่วมเป็นครูให้นักเรียน ตามแผนงานจิตสำนึกรักษ์คลองอู่ตะเภา ของโครงการสร้างการมีส่วนร่วมกับการจัดการสภาพแวดล้อมเมืองหาดใหญ่  ตลอดจนเป็นผู้ใช้กระบวนการในงานวิจัย เรื่อง กระบวนการบูรณาการรายวิชาต่างๆ เข้าสู่ รายวิชารักษ์คลองอู่ตะเภา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ : กรณีศึกษาโรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ของ นางสาวพิมพ์ลักษณ์  โหงนาค นศ. ป.โท สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะ-การจัดการสิ่งแวดล้อม มอ.หาดใหญ่ ช่วงภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๔๗ ได้มีหน่วยงานเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลาซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มาร่วมพัฒนากระบวนการบูรณา-การการจัดการสิ่งแวดล้อมสู่สุขภาวะ  โดยทีมงานจากพะตงประธานคีรีวัฒน์พัฒนาเป็นโครงการสานสายใยเพื่อสุขภาพ ซึ่งมีนักเรียน ครู และชุมชนที่เกี่ยวข้องมาร่วมพัฒนาโครงการ  ซึ่งการดำเนินงานในครั้งนี้นับเป็นการบูรณาการของทีมงานที่มีความหลากหลายในเนื้อหาสาระอย่างแท้จริง  และเป็นการร่วมมือกันจัดการสิ่งแวดล้อมสู่สุขภาวะของทุกคนในชุมชนทั้งในและนอกโรงเรียน โดยมี ในช่วงเดียวกันก็มีโครงการจากหน่วยงานของรัฐ อาทิ ๖.๑ โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งสายน้ำเพื่อการอนุรักษ์ ของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ ๑๖ เข้ามาร่วมร้อยเครือข่ายนักสืบสายน้ำบริเวณต้นคลอง เขตอำเภอสะเดา และเขตอำเภอหาดใหญ่ที่ต่อจากสะเดา ๖.๒  โครงการเยาวชนอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติหมู่บ้านและเมือง(ทสม.) ของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา เพื่อขยายเครือข่าย ทสม.ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของจังหวัดสงขลา ๖.๓ โรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. ๒๕๔๗ จากสมาคมสร้างสรรค์ไทย และกลุ่มบริษัทฮอนด้าแห่งประเทศไทย โรงเรียนจึงได้พัฒนาโครงการ "ร่วมฝัน.. น้ำใส.. ให้ชุมชน"
๖.๔  องค์กรสำรวจวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพื่อวิทยาศาสตร์โลก (Global Learning and Observations to Benefit the Environment : GLOBE) โดยมี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้ประสานงานในประเทศไทย  ได้เชิญครูแกนนำเครือข่ายรักษ์คลองอู่ตะเภาเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ"การวิจัยอย่างนักวิทยาศาสตร์ตามหลักการของ GLOBE ครั้งที่ 1" (GLOBE Students-Teacher-Scientist collaboration research) และ อบรมเชิงปฏิบัติการ "GLOBE International Train the Trainer" - "GLOBE International Marine Hydrology Symposium"
      ผลที่ได้ ได้ความเชื่อมั่นในกระบวนการบูรณาการรายวิชาต่างๆ เข้าสู่รายวิชารักษ์คลองอู่ตะเภา จากผลการวิจัยของ น.ส.พิมพ์ลักษณ์  โหงนาค นศ.ป.โท คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม  มอ.หาดใหญ่ และผลดังกล่าวสอดคล้องกับองค์ความรู้ที่ได้จากเวทีการค้นหาศักยภาพของชุมชนทำให้ใช้เป็นแนวทางในการสอนบูรณาการได้ โรงเรียนได้บูรณาการโครงการที่เข้ามาในช่วงภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๔๗ เข้าเป็นหนึ่งเดียวเพราะต่างก็อยู่ในประเด็น "การจัดการสิ่งแวดล้อมสู่สุขภาวะ"  และทำให้สามารถบูรณาการงบประมาณที่ได้รับเป็นงบประมาณที่เอื้อต่อกันของแต่ละโครงการ จนทำให้เกิดกิจกรรมที่หลากหลาย และแก้ปัญหางบประมาณไม่เพียงพอในแต่ละโครงการได้ โรงเรียนได้เป็นแกนนำในการทำหลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อม "คลองอู่ตะเภา" ของโรงเรียนเครือข่ายรักษ์คลองอู่ตะเภา ในเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาทั้งสามเขต
เครือข่ายโรงเรียนรักษ์คลองอู่ตะเภาเพิ่มขึ้นตลอดสายน้ำ จาก ๑๘ โรงเรียนในช่วงเริ่มแผนงานจิตสำนึกรักษ์คลอง จนกลายเป็น ๔๘ โรงเรียน ในช่วงทำเวทีประชาพิจารณ์หลักสูตร ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.๒๕๔๗ ในระดับเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต ๒  และระดับจังหวัดสงขลา
ครูแกนนำเครือข่ายโรงเรียนรักษ์คลองอู่ตะเภาเข้าเป็นวิทยากรแกนนำของ GLOBE ภาคใต้เพื่อนำกระบวนการต่างๆ มาบูรณาการเข้าสู่ห้องเรียนและกิจกรรม "รักษ์คลองอู่ตะเภา" ๗.  ช่วงภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๘ โครงการสานสายใยเพื่อสุขภาพได้ขอขยายเวลาในการนำเกษตรพอเพียงสู่ชุมชนอื่นๆ ที่สนใจกระบวนการ ทั้งนี้เกิดจาก กระบวนการของทีมแกนนำ ไปขยายผลในชุมชนเอง และกระบวนการของนักเรียนที่ไปขุดบ่อเลี้ยงปลา และปลูกผักไร้สารพิษในบริเวณชุมชนของนักเรียน ในรายวิชาสังคมศึกษา และรักษ์คลองอู่ตะเภา ปี ๑/๒๕๔๘  นอกจากนั้นบุคลากรในโรงเรียนที่สนใจก็ได้นำไปขยายผลในชุมชนที่อยู่ต่างพื้นที่ของตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  ทำให้เกิดความสนใจของบัณฑิตอาสาพัฒนาจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ โดยนำกระบวนการของเกษตรพอเพียงนี้ไปขยายผลต่อในชุมชนที่บัณฑิตรับผิดชอบโดยใช้งบประมาณของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  นับได้ว่าเป็นความโชคดีของชุมชนที่ได้มีโอกาสสัมผัสกับงานเกษตรพอเพียง เพราะผลที่ออกมาจากการทำเกษตรพอเพียง ล้วนแต่ส่งผลดีต่อสุขภาพทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นปลาที่เลี้ยงโดยปราศจากสารพิษ และผักที่นำมาปลูกแบบไร้สารพิษ  และที่สำคัญอย่างยิ่ง คงเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมที่เราสามารถคัดแยกขยะเปียกมาทำเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพ และใช้ได้ทั้งบ่อเลี้ยงปลาเพื่อปรับสภาพน้ำ และใช้กับผักสวนครัวเพื่อใช้เป็นปุ๋ย  ทุกอย่างไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ขณะเดียวกันสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยก็เข้ามาสนับสนุนในโครงการลดเมืองร้อนด้วยมือเรา  ทำให้ทีมงานเสนอกิจกรรมในแผนงานย่อยเป็นเรื่องของการคัดแยกขยะประเภทใบไม้มาทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  และมุ่งเน้นให้นักเรียนกลับไปปลูกต้นไม้ในชุมชนคนละหนึ่งต้นพร้อมกับการรักษาดูแล  และนำปุ๋ยหมักชีวภาพไปใช้ใส่เป็นปุ๋ยสำหรับต้นไม้  สุดท้ายมีการทำเตาต้นแบบในการประหยัดพลังงาน โดยนำวัสดุที่เป็นขยะในสวนยางพารา ได้แก่ เปลือกที่หุ้มลูกยางพารา มาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อทำถ่านที่มีพลังงานสูงกว่าถ่านไม้ธรรมดา ผลที่ได้ เกิดทีมเกษตรพอเพียงมากขึ้นเป็นลำดับ ส่งผลดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมตลอดจนภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน เกิดความต่อเนื่องของงานเกษตรพอเพียงจากโรงเรียนสู่ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมแม้ว่าจะมีปัญหาในด้านงบประมาณที่เป็นค่าใช้จ่ายเริ่มของบ่อที่เพิ่งดำเนินการแต่ทีมงานใช้กระบวนการบูรณา-การงบประมาณจากหลายๆ โครงการเข้ามาผสมผสานทำให้สามารถดำเนินการไปได้อย่างไม่ติดขัดส่งผลดีต่อผู้ได้รับผลประโยชน์ คือ นักเรียนและชุมชนดังกล่าว เกิดงานบูรณาการที่สามารถเชื่อมโยงไปยังท้องถิ่นอื่นๆ ที่สนใจกระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมสู่สุขภาวะ โดยใช้แนวทางพึ่งตนเองแบบพอเพียงตามรอยเท้าองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทีมงานเกิดแนวคิดที่จะเชื่อมโยงงานส่วนนี้ไปยังเยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของสารเสพติด โดยให้มาทำอาชีวบำบัดด้วยเกษตรพอเพียง เพื่อสร้างเยาวชนเปลี่ยนวิถี พบแนวทางการฟื้นฟูคลองอู่ตะเภา ที่เริ่มจากชุมชนริมคลองหันมาทำเกษตรพอเพียง ทำให้ลดปริมาณขยะที่จะนำสู่คลองอู่ตะเภาและช่วยบำบัดน้ำเสียจากครัวเรือนของตนเองในชุมชนตลอดจนมีรายได้จากการเลี้ยงปลาและปลูกผักที่ไร้สารพิษ หากสามารถทำให้ชุมชนลงมาเล่นบทบาทนี้กันมากๆ  จะมีโอกาสทำให้ทุกคนในชุมชนได้บริโภคอาหารปลอดภัยกันอย่างจริงจัง และอาจจัดเป็นตลาดนัดอาหารปลอดภัยในแต่ละชุมชนเป็นการเพิ่มสุขภาพทางด้านอาหารให้กับทุกคน พบแนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่นในเรื่อง "การจัดการสิ่งแวดล้อมสู่สุขภาวะ" ของคนจังหวัดสงขลา คาดว่าหลักสูตรนี้จะสำเร็จภายในปีการศึกษา ๒๕๔๘ โดยมีโรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ และเครือข่ายโรงเรียนรักษ์คลองอู่ตะเภาเป็นกลุ่มแกนนำในการจัดทำหลักสูตรดังกล่าว

Comment #1
ข (Not Member)
Posted @12 ธ.ค. 50 19:53 ip : 210...163

งานๆๆๆๆหาไม่เจอ

Comment #2
ข (Not Member)
Posted @12 ธ.ค. 50 19:57 ip : 210...163




Comment #3
วาสว (Not Member)
Posted @25 ธ.ค. 50 20:13 ip : 203...164

Comment #4
แน๊ก (Not Member)
Posted @17 ม.ค. 51 09:23 ip : 118...46

อยากได้ข้อมูลการทดลองเคมีม.ต้นค่ะ ใกล้ถึงกำหนดส่งแล้ว ยังหาข้อมูลไม่ได้เลย ใครหาได้ช่วยบอกหน่อยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

Comment #5
อยากทราบข้อมูลบทวิจั (Not Member)
Posted @22 พ.ค. 51 10:01 ip : 222...48

ต้องการข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเรื่องวิทยาศาสตร์มากๆ เลยคะช่วยส่งให้หน่อยสิคะ

Comment #6-
ลูกหมี (Not Member)
Posted @25 ก.พ. 52 22:21 ip : 118...145

อยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูอายุที่บ้าน

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว