สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

เวทีพัฒนาโครงการประเด็นสิ่งแวดล้อม

photo  , 280x210 pixel , 29,082 bytes.

เวทีพัฒนาโครงการประเด็นสิ่งแวดล้อม วันที่  14  ธันวาคม  2549  ณ องค์การบริหารส่วนตำบลนาทับ  อ. จะนะ  จ. สงขลา

ผู้เข้าร่วมประชุม 1. นายมานพ  เสนจันทร์ สนง. ทส.จ.สงขลา 2. น.ส. นิกานต์  เส้งสุวรรณ             สนง. ทส.จ.สงขลา 3. นางดรุณี  ร่มสกุล โรงเรียนบ้านม้างอน 4.นายสุทิน ร่มสกุล                          โรงเรียนท่าคลอง ต.นาทับ อ.จะนะ 5.น.ส.สุวิตา  สุวรรณะ                      สนง.ทส.จ.สงขลา 6.นายพิเชษฐ  จันทรุ่งโรจน์                สนง.ทส.จ.สงขลา 7.น.ส.ศานี  ทิพย์ทะเบียนการ              สนง.ทส.จ.สงขลา 8.นายชาคริต  โภชะเรือง 9.น.ส.วรรณา  สุวรรณชาตรี

สรุปการพัฒนาโครงการ นายชาคริต  โภชะเรือง  ผู้ประสานเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา  ได้กล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานของแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา  และได้ประเมินแนวทางการการดำเนินกิจกรรมของพื้นที่ตำบลนาทับ  ดังนี้ 1. สภาพพื้นฐาน - ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทย - มุสลิม  12  หมู่บ้าน  ชาวไทยพุทธ  2  หมู่บ้าน - คลองนาทับ ต้นน้ำจากเขตห้ามล่าพันธ์สัตว์ป่าเขาเหรง  อยู่ในพื้นที่ตำบลคลองเปียะ และตำบลป่าชิง  ส่วนปลายน้ำ  อยู่ในพื้นที่ ม.2 ต. นาทับ  ที่น้ำไหลออกสู่อ่าวไทย

2. สภาพปัญหา - น้ำเสียจากโรงงาน4 แห่ง  ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ คลองข่าซึ่งเป็นคลองสาขาของคลองนาทับ - น้ำเสียจากนากุ้ง  การเลี้ยงปลาในกระชัง
- ขยะในครัวเรือน - ชุมชนขาดความสัมพันธ์ - การบุกรุกที่ดิน - การกัดเซาะชายฝั่ง - การแย่งชิงทรัพยากร กรณีป่าสันทราย กรณีป่าชายเลน
- อู่ซ่อมเรือ - โรงไฟฟ้า

3. ต้นทุนในพื้นที่
- ชมรมรักษ์คลองนาทับ - มูลนิธิศุภนิมิตร เคยดำเนินการทำหลักสูตรการเรียนการสอน เรื่องการปลูกป่าชายเลน ร่วมกับชุมชนบ้านนาทับ - หลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น 4 โรงเรียน  ได้แก่โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ  โรงเรียนชุมชนบ้านนาทับ  โรงเรียนบ้านท่าคลอง  โรงเรียนบ้านม้างอน  (กำลังรอใช้)  เนื้อหาหลักสูตรจะเกี่ยวกับเรื่อง  ดังนี้ 1.ชุมชนนาทับ 2.สิ่งแวดล้อมชุมชน/ความหลากหลาย/ขยะ/การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง 3.ภูมิปัญญาชาวบ้าน 4.บทบาทหน้าที่ของคนในชุมชน

4. กิจกรรมที่คาดว่าจะดำเนินการ 1.อนุรักษ์ป่าสันทราย  สร้างแนวทางอนุรักษ์กล้วยไม้ม้าวิ่ง 2.หลักสูตรท้องถิ่น (แบ่งตามช่วงชั้นการเรียน)  ซึ่งมีเนื้อหา - ความสัมพันธ์กับชุมชน(ผังเครือญาติ) - ชื่อบ้านนามเมือง  ประวัติท้องถิ่น - ทรัพยากรในท้องถิ่น(ป่าสันทราย/ป่าชายเลน) - วัฒนธรรมประเพณี - ของดีคนดีในชุมชน - การจัดการขยะ  คัดแยก นำกลับมาใช้  กิจกรรมธนาคารขยะ 3.ศึกษาความสัมพันธ์/ผลกระทบ กับโรงไฟฟ้า 4. กิจกรรมร่วมกับชุมชนในตำบลนาทับ  โดยมีแนวทางให้มีผู้นำทางศาสนามีส่ววนร่วมในการเป็นที่ปรึกษาโครงการ

5. กลุ่มเป้าหมาย - เด็ก - ผู้นำศาสนา

จบการประชุม

Comment #1
แสดงความคิดเห็น (Not Member)
Posted @21 ก.พ. 51 14:11 ip : 124...75

ดูดีน่ะค่ะแต่ดูเหมือนจะยากไปนิดสำหรับคนหมู่มาก

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว