สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

แผนสุขภาพประเด็นการจัดสวัสดิการชุมชนโดยกองทุนชุมชนหรือกองทุนการเงิน

แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา ประเด็น 2. การจัดสวัสดิการชุมชน โดยกองทุนชุมชน


เสนอโดย

นายสมพร  ใช้บางยาง ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายประยงค์ รัตนพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ครูชบ ยอดแก้ว กลุ่มสัจจะวันละหนึ่งบาทเพื่อจัดสวัสดิการชุมชน นายเคล้า แก้วเพชร กองทุนสัจจะออมทรัพย์นาหว้า นายลัภย์ หนูประดิษฐ์ กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์สงขลา นายอัมพร ด้วงปาน กองทุนสัจจะออมทรัพย์คลองเปรียะ นายอรัญ จิตตะเสโน นักธุรกิจ นายพีระ ตันติเศรณี องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายสินธพ อินทรัตน์ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ผศ.ดร.สุกัญญา โลจนาภิวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์  มอ. อ.สุภาคย์ อินทองคง ศูนย์เรียนรู้ชุมชนภาคใต้ อ.จำนงค์ แรกพินิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ ผศ.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ. สวรส.ภาคใต้ มอ.


1. แนวคิดของแผนการจัดสวัสดิการชุมชน โดยกองทุนชุมชน :
ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับการขับเคลื่อนโดยกระบวนการภาคประชาชน

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์
ความพอเพียงหมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน<br />
และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ&nbsp; ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการยอมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ตามหนังสือที่ รล. 0003/1888  ลงวันที่ 29 พ.ย 2542 สำนักราชเลขาธิการฯพระบรมมหาราชวัง กทม.


2. กระบวนทัศน์ต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับการขับเคลื่อนโดยกระบวนการภาคประชาชน

ต้องพอดีกับตัวเอง ไม่เดือดร้อน นี่คือสิ่งที่น่าจะพอเพียง             ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชน มีอย่างน้อย 7 ทุน
1) ทุนคน 2) ทุนภูมิปัญญาที่อยู่ในคน 3) ทุนศาสนาและวัฒนธรรม  4) ทุนทรัพยากรธรรมชาติ  5) ทุนแรงงาน ทุกคนมีแรงงานอยู่ในตนเอง 6) ทุนเวลา  ทุกคนมีเวลาเท่ากันหมด  7) ทุนเงินตรา  ปัจจุบันนี้ทุนเงินตรามาแรง  ทำให้คนมุ่งไปหาเงินจนลืมคุณธรรมจริยธรรม  ขอให้ได้เงินอย่างเดียว คือ คนอยากรวย ทำให้ทุน 6 ทุนที่มีอยู่ล้ม  มีความอ่อนแอลงไปมาก  เห็นได้จากพัฒนาการของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ที่ผ่านมา  มีทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวในบางกลุ่ม  ดังนั้นแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงคิดว่าแนวทางนี้เป็นแนวทางที่จะฟื้น ทุน 6 ทุนที่ล้มในสังคมให้ฟื้นขึ้น มีความสมดุลในสังคม อันจะนำไปสู่  "สังคมดีคนมีความสุข"


แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกระบวนการไม่ยึดติด  เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจพอเพียงจึงมีหลายระดับ หลายกลุ่มคน พอเพียงพอเหมาะพอสมตามอัตภาพ
ในอดีตเรายึดปัจจัยสี่ ปัจจุบันปัจจัยสี่ไม่เพียงพอ กระบวนการออมทรัพย์ จึงเป็นกระบวนการพัฒนาคนเพื่อให้คนหันมาพึ่งพิงกัน การส่งเสริมการออมเป็นหัวใจกองทุน แต่ยังมีความแตกต่างในหลายระดับจึงมีความพอเพียงต่างระดับไม่ว่าจะพอเพียงในระดับในสิ่งที่เราได้มาต้องไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ไม่ควรมาจากสิ่งไม่ดี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และท้ายที่สุดไม่ทำให้ประเทศชาติเสียหาย    การนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ต้องสร้างสูตรคิด ให้กับคน ให้คนเข้าใจในความพอเพียง  สอนคนให้รู้เท่าทัน  ให้เกิดความรักสามัคคี    ต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนที่แตกต่างกัน ไม่ทำอะไรฝืนธรรมชาติ แต่ต้องไม่ปล่อยไปตามกระแส  สุดท้ายคือ ต้องเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ลุงอัมพร ด้วงปาน    อธิการบดี มหาวิทยาลัยชาวบ้าน กองทุนสัจจะออมทรัพย์คลองเปรียะ

เศรษฐกิจพอเพียงคืออยู่ที่การกระทำของเราเอง ฉะนั้นทำอย่างไรให้คนเชื่อซึ่งตรงนี้ต้องสร้างภาพจริงให้เกิดขึ้นกับชุมชน             การพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียง และ ทำให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้นได้ต้องพัฒนาวิธีคิดคน ตัวอย่างเช่น โครงการเลี้ยงวัว แล้วทำโรงงานปุ๋ยชีวภาพ  แม่วัวตัวหนึ่งคือโรงงานหนึ่ง สามารถทำปุ๋ยได้ 5,000 กิโลต่อปี วัวตัวหนึ่งกินอาหาร 40 กิโลต่อวัน กินน้ำ 5 กิโล อาหารเสริม 5 กิโล หญ้าแห้ง 15 กิโล หญ้าสด 15 กิโล ถ้าเราคิดได้ตามนี้ปุ๋ยชีวภาพจะเกิด 5,000 กิโลต่อตัว  ขี้วัวตัวนี้นำไปทำปุ๋ยปลูกผักปลุกอะไรที่ปลอดสารพิษ นอกจากนี้ต้องมีหลักคิดเช่นว่าการออมประจำไม่มีการจน


                  ความพอเพียงนี้เราทำอย่างไรให้ทุกคนรู้ตัวเราว่าเราเป็นใคร ทำอะไร แล้วมีหน้าที่อย่างไร
การพอเพียงจะต้องเป็นของใครของมัน จะมาเหมือนกันไม่ได้ ตามหลักธรรมะ อัตตาหิ อัตโนนาโถ และเพราะพอเพียงนั้น ไม่ใช่หลักสูตรของการศึกษาที่จะต้องทำเหมือนกันหมด  หลักเศรษฐกิจพอเพียงถูกนำมาพูดคุยกันแบบฉาบฉวยว่าลักษณะการพอเพียง คือพออยู่พอกินตามทุนนิยม ในหลักสูตรการสอนของมหาวิทยาลัย ขององค์กรองค์การอะไรต่าง ๆ ก็สอนให้เราซื้อซะมากกว่า สอนไม่ให้ซื้อ มันเป็นลักษณะอย่างนี้ และมีตัวที่ยั่วยุ เช่นโฆษณาต่างๆ ทำให้ไม่มีพอเพียงอยู่ในตัว ทำให้พวกเราลืมการพอเพียงไป
                                                                                                                            ลุงลัภย์  หนูประดิษฐ์      กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ ชาวบ้านต้องรู้ เข้าใจแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ปัจจุบันชาวบ้านไม่รู้ ทำให้ไม่รู้สถานะของตนเอง การทำให้ชาวบ้านรู้จริง ไม่จำเป็นต้องแบบเดียว ต้องหลายแบบ  ให้มันมีทางเลือก ทั้งสหกรณ์ ออมทรัพย์ ผมว่าทำอย่างไรให้คนส่วนรวม มันอยู่ได้โดยไม่ต้องการอะไรมาก อยู่ได้อย่างมีความสุข ความสุขที่ว่าคืออะไรซึ่งบางคนยังไม่รู้ ไม่พอก็ยังคิดว่ายังต้องกู้มาซื้อความสุขอีก แสดงว่ายังหวังกู้อยู่ยังไม่รู้ว่ากู้ไม่ดี ตรงนี้สำคัญที่สุด ถ้าให้ชาวบ้านรู้ ก็จะแก้ปัญหาได้
สมพร  ใช้บางยาง ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงเศรษฐกิจที่เป็นไท ไทที่แปลอิสระ กับตัวเอง
              เป็นเศรษฐกิจที่พึ่งตัวเองและพึ่งกันเองได้ ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจใคร  ความพอดีตรงนี้ท่านจึงใช้คำว่า ทางสายกลาง สำคัญที่สุดก็คือ ของในหลวง ท่านบอกว่า มันต้องมีคุณธรรม  อันประกอบด้วย สมถะ สันโดษ มัตตัญญูตา อิทธิบาท 4  ปรัชญาเชิงการบริหารจัดการเศรษฐกิจพอเพียงคือธรรมาภิบาล ความหมายบอกว่า ถ้าคุณจะใช้หลักปรัชญาเชิงการบริหารจัดการเศรษฐกิจพอเพียง สิ่งที่ต้องทำคือได้คุณภาพ และได้ทั้งประสิทธิภาพ
หลักเศรษฐกิจพอเพียง มีอยู่ สามประการ หนึ่งทำอะไรด้วย  เหตุผล อย่าทำตามเขา-ตามเพื่อน  สอง ทำอะไรด้วยความพอประมาณ ดูตัวเอง  สามทำอะไรต้องมีภูมิคุ้ม เผื่อเหลือเผื่อขาดไว้ก่อน  ป้องกันตัวเองได้ รอบคอบระมัดระวัง ลุงอรัญ  จิตตะเสโน    นักธุรกิจ
เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงก็ดี เศรษฐกิจชุมชนก็ดี ฐานต้องไม่หลุดออกมาจากสามประเด็นนี้ คือประเด็นภูมิปัญญา การเรียนรู้ และการจัดการทรัพยากร ถ้าเราไม่เข้าใจเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจชุมชนมันเป็นยังไง การส่งเสริมการพัฒนาตรงนี้ก็จะผิดหมด แล้วเมื่อไปดึงทุนนิยมมาใช้กับเศรษฐกิจชุมชนซึ่งมันเป็นคนละเครื่องมือ คนละวิธีการ เอามาใช้ก็เป็นไปไม่ได้ ยกตัวอย่างนโยบายการสร้างนิคมเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อไปเทียบกับนิคมอุตสาหกรรมแล้วเห็นว่ามันมีโรงงานเต็มไปหมด แล้วถ้ามาตั้งนิคมเศรษฐกิจพอเพียงมันก็จะเต็มไปด้วยเศรษฐกิจพอเพียงใช่หรือไม่  วิธีคิดมันแบบเดียวกันแล้วสุดท้ายมันก็พังอีก เพราะเราไม่เข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงมันหน้าตาเป็นยังไงมันก็คงส่งเสริมไม่ถูก
อ.จำนงค์  แรกพินิจ      มหาวิทยาลัยทักษิณ เศรษฐกิจพอเพียงนี้ไม่ได้หมายถึงเศรษฐกิจเท่านั้น แต่หมายถึงชีวิต                 โดยรวมแล้วคือ หลักพุทธธรรม เช่น หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ  ปัญญา เป็นต้น สรุปว่าปรัชญาพอเพียง  หรือเศรษฐกิจพอเพียง คือ พอเพียงสามประการ ได้แก่ รู้ ให้พอเพียง  คิด ให้พอเพียง และทำ ให้พอเพียง    และให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจพอเพียงที่การพัฒนาคน โดยคนต้องรู้รัก  สามัคคี

อ.สุภาคย์  อินทองคง ศูนย์เรียนรู้ชุมชนภาคใต้ (ศรช.)

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกิจกรรม&nbsp; กิจกรรมหนึ่ง ซึ่งจริงๆ มันเป็นองค์รวมของชีวิตไม่ได้แยกส่วน ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน&nbsp; ก็เป็นเรื่องของปัญญาเป็นสำคัญเนื่องจากมีส่วนสำคัญยิ่งในการกำกับทิศทางความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นสังคมและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข<br />

          สุขภาพหรือสุขภาวะคือผลสุดท้ายของการพัฒนา  การพัฒนาต้องพัฒนาคน ซึ่งเป็นองค์รวมของกายกับจิต
ผศ.สุกัญญา โลจนาภิวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เราต้องใช้เงินเป็นแค่เครื่องมือ  อย่างที่เราทำออมทรัพย์เราอย่าไปมองว่ามันต้องได้ปันผลขนาดไหน เพราะว่าสิ่งนั้นมันเป็นแค่เครื่องมือของการทำงานให้ชุมชนมีความเข็มแข็ง มีจิตวิญญาณกันในชุมชน คิดว่างานที่เราทำนี้แม้เราไม่อยู่ แต่มันเป็นการสร้างความชาวบ้านทำ และสิ่งที่เหนือจากนั้นคือ คนเรียนรุ้ ซึ่งหลายคนก็ถามว่าเรามาทำอย่างนี้เพื่ออะไรนั้นก็คือเขาเกิดการอยากเรียนรู้แล้ว เราถ่ายทอดให้แก่กันและกัน ซึ่งอย่างน้อยที่สุดวันละบาทนี้ทำให้เขาได้รุ้จักประมาณตัวเอง และเคลื่อนไปไม่รู้จบ

สินธพ  อินทรัตน์  นายกอบต. ทุ่งหวัง สงขลา





แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง บนความหลากหลายของสังคมและวัฒนธรรม ไม่ใช่แก้แต่เรื่องการเมือง ควรแก้ด้วยการจัดความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางส่วนท้องถิ่น จังหวัดสงขลา มีทั้งชุดความคิด และ ปฏิบัติการที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง เรามีตัวคน กลุ่มคนหลากหลาย จึงควรพยายามทำงานเชิงลึก พยายามหาความหมาย สร้างสูตรคิดจากชุดปฏิบัติการต่างๆ เอามาแลกเปลี่ยนกัน พีระ  ตันติเศรณี รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเรื่องของความพอดี พอเหมาะ พอประมาณกับตนเอง ความพอเพียงจึงมีหลายระดับ ขึ้นกับแต่ละปัจเจกชนและต้องไม่สร้างความเดือดร้อนกับตนเองและผู้อื่น             ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต้องเข้าไปอยู่ในจิตใจเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต ทำให้เรามีเหตุมีผล มีจิตสำนึกจากการใช้ปัญญาความรู้ ทำให้รู้เรื่อง เข้าใจ คิดได้ ทำเป็น สอนคนอื่นได้ด้วย             ส่งผลให้เรามีอิสรภาพ เป็นไท มีภูมิคุ้มกัน มีความระวัง ระวังตัว ระวังใจ
            ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์ใช้ได้ทั้งในระดับปัจเจก  ในชุมชน  และในสากล แต่สิ่งที่สำคัญอยู่ที่การกระทำและการสร้างรูปธรรมที่เป็นจริง เพื่อความเชื่อถือและเชื่อมั่น ผศ.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

3.  ทิศทาง ยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะ โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับการขับเคลื่อนโดยกระบวนการภาคประชาชน

หลักคิดและปรัชญา
    ใช้หลักคิดโดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ  เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

จุดหมาย 1. เพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์คน ในการดำเนินชีวิตโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำทาง ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ระดับครอบครัว ระดับชุมชน และ ระดับสาธารณะ 2.  เพื่อการขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในภาคีรัฐ  ภาคีชุมชน ภาคีวิชาการ และในระดับพื้นที่  ระดับส่วนกลาง

ยุทธศาสตร์ 1.  เปลี่ยนวิธีคิด จากการเรียนรู้ จากการปฏิบัติ และจากการทำกิจกรรมจริง โดยการสร้างปฏิบัติการชุมชนอย่างเชื่อมโยง แสดงให้เห็นถึงรูปธรรมการดำเนินชีวิตโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่  เพื่อการพัฒนากระบวนการนโยบายสาธารณะ และเพื่อพิสูจน์ความเป็นไปได้ของนโยบายสาธารณะ








2. เชื่อมโยงความสัมพันธ์ภายใต้บริบทของพื้นที่   ใช้บริบทที่สอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่  เชื่อมโยงความสัมพันธ์ในพื้นที่ทั้งเชิงโครงสร้างและเชิงประเด็น โดย • ต้องรู้ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค ในพื้นที่
• ต้องรู้ คน หน่วยงาน ภาคีในพื้นที่  เช่น  อบต ผู้นำทางศาสนา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน • ต้องเข้าใจความสัมพันธ์ ในชุมชน เช่น ความเข้มแข็ง ความขัดแย้งในชุมชน  ความเข้าใจในหน่วยงานรัฐ • ต้องเชื่อมโยงประเด็นอื่นๆในพื้นที่ เช่น ความยากจน หนี้ การออมทรัพย์ การจัดการทรัพยากร ฐานอาชีพเกษตรวิถีธรรม วิถีไท • ต้องสร้างศูนย์สุขภาพชุมชน  เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนได้มีระบบบริการด้านสุขภาพที่ชุมชนกำหนดเอง 3. ใช้ทุนที่มีอยู่ในชุมชนเป็นตัวตั้งต้น
ได้แก่    กองทุนสัจจะออมทรัพย์  กองทุนสัจจะวันละบาทฯ  สหกรณ์ กองทุนชุมชน  กองทุน SML  โดยใช้เรื่องการจัดสวัสดิการชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อน
4.  ใช้ยุทธศาสตร์ชุมชนเรียนรู้เอง พึ่งตนเอง ทำเอง
ไม่คาดหวังว่าให้ผู้อื่นทำ ไม่คาดหวังว่ารัฐจะเป็นผู้ดำเนินการ  แต่จะเป็นกระบวนการนโยบายสาธารณะ และเป็นการเมืองภาคประชาชน โดยเริ่มต้นจากปัจเจก พัฒนาเป็นกลุ่มคน พัฒนาเป็นเครื่อข่าย  สร้างครอบครัวต้นแบบในชุมชน สร้างแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  ส่งเสริมการพึ่งตนเองลดการพึ่งพาจากภายนอก  เช่น  การปลูกผักกินเอง  การทำปุ๋ยใช้เอง ส่งเสริมการออม 5.  เชื่อมกับนโยบาย และยุทธศาสตร์ ทั้งในระดับพื้นที่และส่วนกลาง
ยุทธศาสตร์ในแผนสุขภาพ ต้องเชื่อมร้อยกับยุทธศาสตร์อื่นเพื่อการสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยไม่ใช่เพื่อการกำหนดกันและกันเช่น  ยุทธศาสตร์แก้ความยากจน ยุทธศาสตร์จังหวัด  ทั้งนี้เพื่อการขับเคลื่อนเชิงนโยบายสาธารณะในระดับต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ • ระดับครัวเรือน เช่น กินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกทุกอย่างที่กิน เลี้ยงวัวปลูกผักเพื่อลดการพึ่งพา • ระดับชุมชน    เช่น นโยายซื้อแพงขายถูก ของกองทุนออมทรัพย์ • ระดับรัฐ     เช่น กระทรวงการคลัง ออกพันธบัตรรัฐบาลดอกเบี้ยสูง การมีส่วนร่วมในหลักประกันสุขภาพ • ระดับเอกชน    เช่น มาตรการสนับสนุนของ ธนาคาร สหกรณ์ กองทุน  ทั้งดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้


4.  โครงสร้างการทำงาน








ที่ปรึกษา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา คณะทำงาน ครูชบ ยอดแก้ว กลุ่มสัจจะวันละหนึ่งบาทเพื่อจัดสวัสดิการชุมชน นายเคล้า แก้วเพชร กองทุนสัจจะออมทรัพย์นาหว้า นายลัภย์ หนูประดิษฐ์ กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์สงขลา นายอัมพร ด้วงปาน กองทุนสัจจะออมทรัพย์คลองเปรียะ นายอรัญ จิตตะเสโน นักธุรกิจ นายพีระ ตันติเศรณี องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายสินธพ อินทรัตน์ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ผศ.ดร.สุกัญญาโลจนาภิวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์  มอ. อ.สุภาคย์ อินทองคง ศูนย์เรียนรู้ชุมชนภาคใต้ อ.จำนงค์ แรกพินิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ ผศ.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ         ผอ. สวรส.ภาคใต้ มอ.

  1. แผนปฏิบัติการเพื่อการขับเคลื่อน
  2. การสร้างชุดความรู้ เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายสาธารณะ 1.1  โครงการศึกษา รูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนในจังหวัดสงขลา                   วัตถุประสงค์ เป็นการศึกษาทบทวนสถานการณ์ รูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนตามพื้นที่ ตามวัฒนธรรม ตามองค์กรการเงิน เพื่อค้นหาตัวอย่างและให้ได้มาซึ่งข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดสวัสดิการชุมชนโดยการจัดการทุนของชุมชนในจังหวัดสงขลา
            ผู้รับผิดชอบ    อ.จำนงค์ แรกพินิจ  มหาวิทยาลัยทักษิณ
                            แหล่งทุน        สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ และ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

    1.2  โครงการผลิตเอกสารเพื่อการเผยแพร่         วัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษา และชุดความรู้เรื่อง 2 เรื่อง ได้แก่
• นโยบายสาธารณะและรูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนในจังหวัดสงขลา • ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับกระบวนการภาคประชาชน       ผู้รับผิดชอบ    อ.จำนงค์ แรกพินิจ  และ ผศ.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 
                        แหล่งทุน        สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ และ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ 1.3 โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่มการจัดการสวัสดิการชุมชน         วัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำคณะทำงานในพื้นที่  ให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดสวัสดิการชุมชน                         ผู้รับผิดชอบ  ผศ. ภก. พงค์เทพ  สุธีรวุฒิ                         แหล่งทุน      สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้

2.  การสร้างความเข้าใจเรื่องการจัดสวัสดิการชุมชนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
                2.1  โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้
        วัตถุประสงค์
• เพื่อสร้างความเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันจะนำไปสู่การพัฒนา และการมีส่วนร่วมในการ จัดระบบสวัสดิการชุมชน • เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งจากส่วนราชการและจากพื้นที่         กลุ่มเป้าหมาย  มีดังนี้ • ผู้บริหารอบต หัวหน้าส่วนราชการ ที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบายในพื้นที่ • ชุมชนที่มีปฏิบัติการอยู่แล้ว ซึ่งมีโอกาสที่จะพัฒนา ยกฐานะ เป็นผู้รู้ เป็นชุมชนต้นแบบ ศูนย์เรียนรู้ • กลุ่มนักวิชาการ เพื่อให้เกิดการสร้างงานวิชาการที่จะหนุนเสริมการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย     ผู้รับผิดชอบ    ผศ.ดร.สุกัญญาโลจนาภิวัฒน์ และ อ.สุภาคย์ อินทองคง                         แหล่งทุน        จังหวัดสงขลา(CEO) และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

                2.2  โครงการเวทีนโยบายสาธารณะเพื่อการเคลื่อนเชิงนโยบาย
        วัตถุประสงค์   เพื่อเป็นเวทีแห่งการเรียนรู้ และเป็นเวทีการสร้างพันธสัญญาร่วมกันในกระบวนการนโยบายสาธารณะ โดยใช้นโยบายการจัดสวัสดิการชุมชนด้วยชุมชนภายใต้ฐานคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นตัวเดินเรื่อง
        กลุ่มเป้าหมาย  มีดังนี้ • ผู้บริหารอบต หัวหน้าส่วนราชการ ที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบายในพื้นที่ • ชุมชนปฏิบัติการทั้งที่มีอยู่และกำลังเริ่มต้นการจัดสวัสดิการชุมชน
• กลุ่มนักวิชาการ เพื่อให้เกิดการสร้างงานวิชาการที่จะหนุนเสริมการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย • กลุ่มสื่อสารมวลชน เพื่อการสื่อสารสาธารณะ     ผู้รับผิดชอบ    ผศ.ดร.สุกัญญาโลจนาภิวัฒน์  และ  อ.สุภาคย์ อินทองคง                         แหล่งทุน        สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ และ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

  1. การสร้างปฏิบัติการในชุมชน เพื่อให้ทุกพื้นที่ของจังหวัดสงขลามีระบบการจัดการสวัสดิการชุมชนโดยชุมชน  ด้วยการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในพื้นที่ที่มีระบบอยู่แล้ว และจะไปสร้างระบบการจัดการสวัสดิการชุมชนในพื้นที่ที่ยังไม่มีการจัดการ                 3.1 โครงการสนับสนุนปฏิบัติการที่มีอยู่ในพื้นที่
            วัตถุประสงค์   เพื่อสนับสนุนเครือข่ายในพื้นที่เช่น กองทุนออมทรัพย์  กองทุนสัจจะวันละบาทฯ และ สหกรณ์  ให้มีการคิดค้น พัฒนาเรื่องระบบการจัดสวัสดิการชุมชนโดยชุมชน เพิ่มมากขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  โดยใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะ และใช้ฐานคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวเดินเรื่อง
        ผู้รับผิดชอบ    ครูชบ  ยอดแก้ว  นายเคล้า  แก้วเพชร  นายลัภย์  หนูประดิษฐ์    นายอัมพร ด้วงปาน                         แหล่งทุน        จังหวัดสงขลา(CEO) และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา                 3.2  โครงการสร้างชุมชนปฏิบัติการเพื่อการขับเคลื่อนการจัดสวัสดิการชุมชน
                            วัตถุประสงค์    เพื่อให้พื้นที่ของจังหวัดสงขลาที่ยังไม่มีระบบการจัดการสวัสดิการชุมชนโดยชุมชน มีการพัฒนาระบบขึ้นโดยใช้แนวคิดสัจจะวันละบาท เป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดพื้นที่ปฏิบัติการเต็มพื้นที่     ผู้รับผิดชอบ    ครูชบ  ยอดแก้ว  นายเคล้า  แก้วเพชร  นายลัภย์  หนูประดิษฐ์    นายอัมพร ด้วงปาน                         แหล่งทุน        จังหวัดสงขลา(CEO) และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา 4.  การสร้างกลไกและศูนย์เรียนรู้                 4.1  โครงการสร้างชุมชนต้นแบบเพื่อการเรียนรู้
                            วัตถุประสงค์  มี 2 ประเด็น  คือ • การมีชุดความรู้ในชุมชนให้คนภายนอกเข้ามาเรียนรู้ • การสร้างกลไก กระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชน     ผู้รับผิดชอบ    ครูชบ  ยอดแก้ว  นายเคล้า  แก้วเพชร  นายลัภย์  หนูประดิษฐ์    นายอัมพร ด้วงปาน                         แหล่งทุน        จังหวัดสงขลา(CEO) และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา                 4.2  โครงการจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้
                            วัตถุประสงค์  เพื่อนำชุดความรู้ที่มีอยู่มาสังเคราะห์เป็นหลักสูตรเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในระดับต่างๆ  เช่น • หลักสูตรนักวิจัยชุมชน
    • หลักสูตรการจัดการชุมชน • หลักสูตรในสถาบันการศึกษา     ผู้รับผิดชอบ    ผศ.ดร.สุกัญญาโลจนาภิวัฒน์ และ อ.สุภาคย์ อินทองคง                         แหล่งทุน        จังหวัดสงขลา(CEO) และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

5.  การสื่อสารสาธารณะ                 5.1  โครงการสื่อสารสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนการจัดสวัสดิการชุมชนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
                          วัตถุประสงค์
• การสร้างพื้นที่สาธารณะ เพื่อการสื่อสาร เช่นเวทีชาวบ้าน ร้านน้ำชา วัด
• การใช้สื่อกระแสหลักเช่น  โทรทัศน์  วิทยุชุมชน  สิ่งพิมพิ์ • การใช้เครื่องมือ ช่องทางเชิงวัฒนธรรม เป็นสื่อ เช่น หนังตลุง มโนราห์ พระ • การใช้ช่องทางการศึกษาเพื่อการสื่อสาร เช่น การสร้างการออมในโรงเรียน         ผู้รับผิดชอบ    นายพีระ  ตันติเศรณี  และนายสินธพ   อินทรัตน์
แหล่งทุน        จังหวัดสงขลา(CEO) และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

5.2  โครงการพัฒนาศักยภาพของสื่อ             วัตถุประสงค์    เพื่อให้สื่อมีความเข้าใจและนำเสนอข้อมูลเรื่อง การจัดสวัสดิการชุมชนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ไปยังสาธารณะได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ         ผู้รับผิดชอบ    นายพีระ  ตันติเศรณี  และนายสินธพ   อินทรัตน์
แหล่งทุน        จังหวัดสงขลา(CEO) และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา 6. การประเมินผล
6.1 โครงการประเมินผลโดยใช้กระบวนการเรียนรู้                             วัตถุประสงค์  เพื่อประเมินการรู้จักตนเอง เพื่อให้รู้ความพอเพียง เพื่อการวางเป้าหมายในอนาคต                                                     โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น • ความสามารถในพึ่งตนเองกัน  เนื่องจากยิ่งพัฒนามากขึ้นยิ่งสูญเสียการพึ่งตนเองมากขึ้น  เช่น การลดหนี้สินของตนเอง ลดการจ้างงาน • อำนาจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน
• การพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจ  เช่น  แนวคิด  กินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกทุกอย่างที่กิน       ผู้รับผิดชอบ    อ.จำนงค์ แรกพินิจ  และ ผศ.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 
                        แหล่งทุน        สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ และ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

Relate topics

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว