สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

หลักฐานใหม่ที่ยืนยันถึงอันตรายของยาฆ่าหญ้า "ราวด์อัพ"

by Momo @10 พ.ย. 49 10:20 ( IP : 61...195 ) | Tags : ข่าวสุขภาพประจำวัน

ข่าวที่ไม่เป็นข่าว ประจำปี พ.ศ. 2549 - โดย ภัควดี

การศึกษาวิจัยล่าสุดจากสองฟากมหาสมุทรแอตแลนติกแสดงให้เห็นว่า ยาฆ่าหญ้า "ราวด์อัพ" ซึ่งเป็นยาฆ่าวัชพืชที่ใช้กันมากที่สุดในโลก มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่นำทีมโดยศาสตราจารย์ไจลส์-เอริค เซราลีนี (Gilles-Eric Seralini) จากมหาวิทยาลัยกัง (Caen) ในฝรั่งเศส พบว่า เซลล์ในรกมนุษย์มีปฏิกิริยาต่อยาฆ่าหญ้า "ราวด์อัพ" ในระดับความเข้มข้นที่ต่ำกว่าที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบันด้วยซ้ำ การศึกษาประชากรที่เป็นเกษตรกรในเมืองออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ชี้ให้เห็นว่า การสัมผัสกับสารไกลโฟเซท (glyphosate) ซึ่งเป็นสารประกอบสำคัญในราวด์อัพ ทำให้ความเสี่ยงต่อการแท้งลูกเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า ศาสตราจารย์เซราลีนีกับคณะจึงตัดสินใจวิจัยถึงผลกระทบของยาฆ่าวัชพืชที่มีต่ อเซลล์ของรกในครรภ์มนุษย์เพิ่มเติม การวิจัยของพวกเขายืนยันความเป็นพิษของไกลโฟเซท หลังการสัมผัสสารนี้ในความเข้มข้นต่ำเป็นเวลา 18 ชั่วโมง เซลล์รกของมนุษย์จำนวนมากจะเริ่มตาย นี่อาจอธิบายได้ว่าทำไมเกษตรกรสตรีที่ใช้สารพวกนี้จึงมักคลอดลูกก่อนกำหนดหรือแท้งลูก

คณะของศาสตราจารย์เซราลีนีศึกษาต่อถึงผลกระทบทางพิษวิทยาของสูตรยาราวด์อัพ ซึ่งนอกจากมีไกลโฟเซทเป็นสารประกอบสำคัญ ยังมีสารเคมีอื่น ๆ ผสมลงไปด้วย ผลการศึกษาพบว่า สารเสริมเหล่านี้ทำให้ความเป็นพิษของยาราวด์อัพมีมากกว่าสารไกลโฟเซทเดี่ยว ๆ เสียอีก การศึกษาวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่เผยแพร่ออกมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 2005 จากมหาวิทยาลัยพิทสเบิร์กระบุว่า ราวด์อัพเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เป้าหมายของยาฆ่าหญ้านี้ด้วย นักชีววิทยาพบว่า ราวด์อัพมีอันตรายถึงตายต่อสัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ในงานวิจัยที่ถือว่าเป็นการศึกษาที่ครอบคลุมมากที่สุดเกี่ยวกับผลกระทบของยา ฆ่าหญ้า/แมลงที่มีต่อสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ได้ข้อสรุปว่า ราวด์อัพทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำลดลงไปถึง 70% และทำให้จำนวนลูกอ๊อดลดลงไปถึง 86% จนทำให้กบบางชนิดใกล้สูญพันธุ์แล้ว นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่น ๆ ที่ชี้ว่า ราวด์อัพกระตุ้นให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ที่อาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง และทำให้เกิดอันตรายในตับของหนูทดลอง

มอนซานโต ผู้ผลิตยาฆ่าหญ้าราวด์อัพ มักโฆษณาว่าผลิตภัณฑ์ของตนปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ทั้ง ๆ ที่ผลการวิจัยชี้ไปในทางตรงกันข้าม นอกจากนี้ มอนซานโตยังเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายพืชเศรษฐกิจดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนทานต่อยา ฆ่าหญ้า และทำให้มีการใช้ยาฆ่าหญ้ามากขึ้น แทนที่จะลดลงอย่างที่บรรษัทเคยอ้างเอาไว้

Relate topics

Comment #1ขอขอบคุณ
น้องเบส (Not Member)
Posted @29 ก.ค. 52 22:30 ip : 61...63

ขอบคุณครับ พี่ชาย

Comment #2ขอข้อมูลยาฆ่าหญ้าคา
ตอง (Not Member)
Posted @29 ต.ค. 52 03:08 ip : 110...93

ขอข้อมูลยาฆ่าหญ้าคา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ mr_intong@thaimail.com

Comment #3
ตอง (Not Member)
Posted @29 ต.ค. 52 03:12 ip : 110...93

ขอ วิธีการกำจัด ต้นตอยูคาลิปตัส ครับ

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว