สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

ชวนชาวสงขลาร่วมช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยคาบสมุทรสทิงพระ

photo  , 400x300 pixel , 59,763 bytes.

ผู้ประสานงานหลัก

  1. คุณชิต สง่ากุลพงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิชุมชนสงขลา เบอร์โทรศัพท์ 0869564956
  2. คุณสมพร สิริโปราณานนท์ รองประธานกรรมการมูลนิธิชุมชนสงขลา เบอร์โทรศัพท์ 081-8663468
  3. คุณชาคริต โภชะเรือง ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนสงขลา เบอร์โทรศัพท์ 081-5994381 อีเมล์kahlao@gmail.com

องค์กรความร่วมมือ

ประสานงานร่วมกับ “เครือข่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคประชาชนคาบสมุทรสทิงพระ” ณ สำนักงานของศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก อ.สทิงพระ จ.สงขลา เบอร์โทร.087-3912325 และมีองค์กรความร่วมมือได้แก่

  1. เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน จ.สงขลา
  2. ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก
  3. สถานีวิทยุ มอ. FM 88.00 MHz, FM 101.00 MHz
  4. มูลนิธิชุมชนไท
  5. โครงการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจน ฯ. (สกว.)
  6. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.)
  7. เครือข่ายรักษ์คลองอู่ตะเภา
  8. เครือข่ายแผนสุขภาพตำบล โซนคาบสมุทรสทิงพระ
  9. เครือข่ายชุมชนเพื่อการฟื้นฟูลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาโซนคาบสมุทรสทิงพระ
  10. วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส

 คำอธิบายภาพ : dscf6232_resize

ความเป็นมา

สืบเนื่องจากวันที่ 1 พ.ย 2553 พายุดีเปรสชันบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีศูนย์กลางห่างประมาณ 350 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ ของจังหวัดสงขลา มีความเร็วสูงสุดประมาณ 50 กม./ชม. เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่าง โดยขึ้นฝั่งในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระและอำเภอเมืองในบางส่วน ความรุนแรงของกระแสลมหอบมาทั้งสายน้ำและส่งผลให้เกิดความเสียหายกับอาคารบ้านเรือนของประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะในส่วนของวัสดุกระเบื้องมุงหลังคา มีการหักโค่นของต้นไม้ ผลไม้ ต้นยางพารา ถอนรากล้มทับบ้านเรือน ตลอดจนเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้า สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างแสนสาหัส หากทว่าข่าวสารและความสนใจของสังคมเกาะติดอยู่กับอุทกภัยในพื้นที่เมืองหาดใหญ่ ทำให้ละเลยที่จะให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระทั้ง 4 อำเภอโดยเฉพาะในอำเภอสทิงพระที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด และนอกจากนี้แล้ว ในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระยังประสบเหตุอุทกภัย เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำรองรับน้ำจากลุ่มน้ำย่อยของทะเลสาบสงขลาทั้งในส่วนของจังหวัดสงขลาและพัทลุง มีหลายพื้นที่น้ำท่วมขัง ซ้ำเติมชุมชนให้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างถึงที่สุด

ตารางแสดงจำนวนประชากร
อำเภอประชากรชายประชากรหญิงรวมประชากรจำนวนครัวเรือน
ระโนด23,24423,43046,67414,387
สิงหนคร21,24722,08343,33010,804
สทิงพระ22,52123,55546,07611,416
กระแสสินธุ์7,6947,95115,6454,342
รวม74,70677,019151,72540,949

สภาพพื้นฐานของชุมชน

ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง และเกษตรกร ทำสวนยาง ตาลโตนด ทำนา ประมง สวนผลไม้ ประชากรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน

กลุ่มเป้าหมาย

คาดว่ามีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 70% ของจำนวนครัวเรือน = 28,664 ครัวเรือน

กลุ่มเป้าหมายหลัก

ผู้ประสบภัยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีความยากจน และประสบภัยอย่างรุนแรง จำนวน 10% ของจำนวนครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ = 2,860 ครัวเรือน

 คำอธิบายภาพ : dscf6234_resize

ป้ายโฆษณาไม่เหลือชิ้นดี

 คำอธิบายภาพ : dscf6235_resize

กรอบแนวคิดในการดำเนินงาน ของมูลนิธิชุมชนสงขลาและภาคีเครือข่าย มีดังนี้

  • จัดลำดับความสำคัญ ร่วมกับเครือข่ายชุมชนในพื้นที่เป้าหมายในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีความยากจน และประสบเหตุวาตภัยอย่างรุนแรง จำเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
  • ส่งเสริมแนวคิดการให้อย่างมีคุณค่าและรับอย่างมีศักดิ์ศรี โดยที่ชุมชนผู้ประสบเหตุมีส่วนร่วมในการช่วยตนเอง ฟื้นฟู ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ร่วมกับอาสาสมัครจากนอกพื้นที่ โดยมีการประสานงาน บูรณาการความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับองค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ
  • หนุนเสริมการทำงานขององค์กรภาครัฐ หน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเติมเติมช่องว่างของการทำงานและร่วมประสาน ผลักดันไปสู่การแก้ปัญหาเชิงระบบ สร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนให้กับพื้นที่ในอนาคต

เป้าหมาย

ระดมทรัพยากรทั้งในส่วนของอุปกรณ์สำหรับที่อยู่อาศัย งบประมาณ แรงงานจากอาสาสมัครร่วมกันกับภาคีองค์กรในพื้นที่ นอกพื้นที่ บรรเทาความเดือดร้อนให้กับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส มีความยากจน ช่วยเหลือตัวเองไมได้ สร้างคุณค่าของการให้และรับอย่างมีศักดิ์ศรี

 คำอธิบายภาพ : dscf6236_resize

 คำอธิบายภาพ : dscf6238_resize

 คำอธิบายภาพ : dscf6239_resize

ภารกิจหลัก

  • ระยะสั้น สำรวจความเสียหาย ลำดับความสำคัญ ชี้เป้า

วิธีการ

  1. จัดระบบให้ความช่วยเหลือ โดยมีศูนย์ประสานงานระดับโซน ได้แก่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคประชาชนคาบสมุทรสทิงพระ และศูนย์ประสานงานระดับเครือข่าย ได้แก่ ศูนย์ประสานงานเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนสงขลาเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ณ วัดพิกุล (ดำเนินการแล้ว)

  2. จัดระบบข้อมูลเพื่อลำดับความสำคัญเร่งด่วน โดยจัดแบ่งประเภทผู้ประสบภัยเป็น 3 ระดับได้แก่ ได้รับผลกระทบมาก ปานกลาง และน้อย ในส่วนของเครือข่ายจะมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการระดมทรัพยากรช่วยเหลือให้กับ กลุ่มผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เป็นลำดับแรก (ขณะนี้ดำเนินการแล้วในบางส่วน โดยเครือข่ายองค์กรความร่วมมือ)

  3. ประสานงานส่งต่อความช่วยเหลือให้กับกลุ่มผู้ประลบภัยที่ได้รับผลกระทบ ที่สอดคล้องกับแนวคิดในการดำเนินงานของมูลนิธิชุมชนสงขลา โดยให้ความสำคัญในภารกิจดังนี้
    1. ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะหลังคาบ้าน ที่มีความต้องการกระเบื้องมุงหลังคาจำนวนมาก(กระเบื้องลอนเล็ก/ลอนคู่/กระเบื้องดินเผา) โดยประมาณการว่ามีจำนวนกว่า 1.146,560 แผ่น (28,664 ครัวเรือนx 40 แผ่น/ครัวเรือนโดยเฉลี่ย)โดยเครือข่ายจะเข้าไประดมทรัพยากร โดยวางเป้าหมายไว้ที่จำนวนกระเบื้อง(ลอนเล็กและลอนคู่) 100,000 แผ่น (10%ของจำนวนครัวเรือน= 2,860 ครัวเรือน) สำหรับช่วยเหลือเติมเต็มการทำงานของภาครัฐ ภาคท้องถิ่น ที่จะเป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดยเครือข่ายจะเปิดรับการบริจาค หรือระดมทุนไปจัดซื้อวัสดุกระเบื้องมุงหลังคาทั้งที่เป็นแบบลอนเล็กและลอนคู่ ในราคาต้นทุนและสนับสนุนร้านค้าในพื้นที่
    2. ระดมความช่วยเหลือในกรณีช่วยสงเคราะห์ครัวเรือนที่ประสบปัญหาที่อยู่อาศัยเสียหายรุนแรงทั้งหลัง โดยจัดหาเงินสงเคราะห์เป็นรายครัวเรือน ประมาณ 30,000-50,000 บ.ต่อหลัง ได้สามารถมีที่พักพิงชั่วคราว (รอสมทบกับงบประมาณจากภาครัฐที่จะมีตามมาช่วยเหลืออีกจำนวนหนึ่งในภายหลัง)
    3. ระดมอาสาสมัครนอกพื้นที่ เน้นพลังของนักศึกษาอาชีวะ หรือเครือข่ายองค์กรชุมชนที่มีทักษะทางช่างฝีมือ ช่างก่อสร้าง ช่างไม้ ลงไปเพื่อช่วยเหลือในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ใช้เลื่อยยนต์ตัดกิ่งไม้ที่หักโค่น ร่วมกับอาสาสมัครในชุมชน ในพื้นที่ตำบลที่อยู่ริมทะเลอ่าวไทย 4.ร่วมกับเครือข่ายสื่อสารสาธารณะ เช่น วิทยุกระแสหลัก FM.88.00 MHz วิทยุชุมชนภายใต้เครือข่ายสงขลามีเดียฟอรั่ม เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทีวี.ออนไลน์ ฯลฯ ส่งเสริมจิตอาสาและการให้ของเครือข่ายชนชั้นกลาง ภาคเอกชน ส่งต่อความช่วยเหลือ

 คำอธิบายภาพ : dscf6242_resize

 คำอธิบายภาพ : dscf6244_resize

 คำอธิบายภาพ : dscf6245_resize

 คำอธิบายภาพ : dscf6246_resize

 คำอธิบายภาพ : dscf6247_resize

ทีมงานในพื้นที่

 คำอธิบายภาพ : dscf6250_resize

  • ระยะยาว พัฒนาอาชีพ ปรับปรุงระบบ

วิธีการ

  1. ร่วมกับภาคีเครือข่ายทำแผนพัฒนาอาชีพ เสริมรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน สร้างอาชีพใหม่โดยเฉพาะสำหรับชุมชนที่จำเป็นจะต้องปรับตัว หรือได้รับผลกระทบรุนแรง สวนผลไม้ สวนยางที่ลงทุนไว้เสียหาย จำเป็นที่จะต้องใช้เวลาในการปลูกทดแทน
  2. ใช้ฐานข้อมูลที่มีผลักดันความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานรัฐ ท้องถิ่น ในระดับชาติ เพื่อเติมเต็มในส่วนที่ยังขาดแคลน
  3. จัดการ ความรู้ บทเรียนการแก้ไขปัญหา นำมาสู่การผลักดันเชิงนโยบายสาธารณะในการวางมาตรการเชิงระบบในการป้องกันและ บรรเทาวาตภัยและอุทกภัยในคาบสมุทรสทิงพระ

ผู้สนใจให้ความช่วยเหลือ สามารถบริจาคเงินได้ที่ ชื่อบัญชี...มูลนิธิชุมชนสงขลา ธนาคารกรุงเทพ สาขาหาดใหญ่ใน บัญชีเลขที่ 562-0-52250-7 โดย Fax สลิปการโอนเงินมาได้ที่ 074-474082 (โทร& Fax) หรือติดต่อคุณบุญเรือง ปลอดภัย เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิชุมชนสงขลา 084-7484137

และติดต่อโดยตรงไปยังผู้ประสานงานของศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคประชาชนคาบสมุทรสทิงพระ

ช่องทางสื่อสาร ท่านสามารถติดตามความเคลื่อนไหว ข่าวสารความก้าวหน้าในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ที่ www.scf.or.th

 คำอธิบายภาพ : dscf6254_resize

 คำอธิบายภาพ : dscf6255_resize

หลังคาอาคารโรงเรียนเป็นรอยโหว่

 คำอธิบายภาพ : dscf6257_resize

ต้นสนล้มระเนระนาด

 คำอธิบายภาพ : dscf6259_resize

สภาพความเสียหาย

 คำอธิบายภาพ : dscf6262_resize

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว