สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

วันขึ้นปีใหม่

by ขลุ่ยเพียงออ @29 ธ.ค. 53 16:53 ( IP : 118...152 ) | Tags : ปกิณกะ

ประวัติความเป็นมา

วันขึ้นปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่างๆของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาลจึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุกๆ 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไขอยู่หลายครั้งเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้น จนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำเอาความคิิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุงให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุกๆ 4 ปีให้เติมเดือนที่มี 28 วันเพิ่มขึ้นอีก 1 วันเป็น 29 วัน คือ เดือนกุมภาพันธ์ เรียกปีที่มีเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันว่า ปีอธิกสุรทิน เมื่อเพิ่มวันในเดือน กุมภาพันธ์ เป็น 29 วันในทุก 4 ปีแล้ว แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก กล่าวคือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฎิทินของทุกๆปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันกับเวลาในกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออกและลับลงของฟ้าทางทิศตะวันตกตรงเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีเวลา 12 ชั่วโมงเท่ากันทั้งกลางวันและกลางคืน จึงเรียกชื่อว่า "วันทิวา-ราตรีเสมอภาคมีนาคม [Equinox in March] แต่ในปี ค.ศ. 1582 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นใน วันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้พระสันตะปาปา เกรกอรี่ที่ 13 ได้ปรับปรุงแก้ไขโดยการหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1582 แทนที่จะเป็น วันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะปี ค.ศ. 1582 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรเกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้ วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

กำหนดการเปลี่ยนแปลง วันขึ้นปีใหม่ในเมืองไทย

แต่เดิม ไทยเราถือเอา วันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติของพราหมณ์ ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ และให้ถือเอา วันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 เป็นวันตรุษ ( ตรุษ แปลว่า สิ้น หรือ ขาด / สงกรานต์ แปลว่า การย้ายที่ หรือ การเคลื่อนย้าย ) ดังนั้น วันสงกราต์ คือวันที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนจาก ราศีมีน ไปสู่ ราศีเมษ นั่นเอง

การนับวันปีใหม่หรือวันสงกรานต์ตามวันทางจันทรคติ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติย่อมคลาดเคลื่อนกันไปในแต่ละปี ดังนั้น ในวัน ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปี พ.ศ.2432 ซึ่งตรงกับ วันที่ 1 เมษายน สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ 5) จึงให้ถือเอา วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่นั้นมา เพื่อให้วันขึ้นปีใหม่ได้ตรงกันทุกปีเมื่อนับทางสุริยคติ (แม้ว่า วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ในปีอื่นๆจะไม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน ก็ตาม ) ดังนั้นไทยเราจึงถือเอาวันที่ 1 เมษายน เป็นเดือนแรกของปีอยู่ช่วงหนึ่ง

หลังจากไทยเราได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้ว เมื่อ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2488 รัฐบาลในสมันนั้น ซึ่ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ( จอมพลแปลก ขีตตะสังคะ ) เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศให้ใช้ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ด้วยเหตุผลที่ว่า เพื่อให้สอดคล้องกับสากลนิยม เหมือนกับอานารยประเทศทั้งหลายทั่วโลก ดังนั้น วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาจนบัดนี้

ในโอกาสศุภวารดิถีขึ้นปีใหม่ กระผมขออ้างเอาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านทั้งหลายเคารพนับถือ ตลอดถึงพระบารมีแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จงโปรดดลบันดาลประทานพรให้ท่านทั้งหลาย จงประสบความสุขความเจริญด้วยจตุรพิธพรชัย ตลอดกาลนาน

เอกสารอ้างอิง ประวัติความเป็นมา,กำหนดการเปลี่ยนแปลง วันปีใหม่ในเมืองไทย: นิตยา อำไพวรรณ

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว