สงขลาพอเพียง : เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา - Songkhla Health

หนุนเสริมภาคี ประสานความร่วมมือ

รายงานการประชุม วันที่ 7 สิงหาคม 2549 ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

photo  , 280x210 pixel , 29,523 bytes.

ผู้เข้าร่วมประชุม 1. นางจุฑารัตน์  สถิรปัญญา 2. พ.ต.ท. อาทร  ภิรมย์รักษ์ 3. นางอัจจิมา  พรรณนา 4. นายสุชาติ  ชุมชอบ 5. น.ส. ศรัญญา  ระยับแสงมงคล 6. นายประเวศ  หมีดเส็น 7. พ.ต.ท. ธีรยุทธ  สันติวิสิฏฐ์ 8. นายชินชอบ  หลีกัง 9. น.ส. ฉัตรวารี  กาญจนประเสริฐ 10. พ.ต.ท. วรา  เวชชาภินันท์ 11. นายจะโรจน์  รัตนอุไร 12. น.ส. สุดาพรรณ์  ภิรมย์บูรณ์ 13. นพ. สุภัทร  ฮาสุวรรณกิจ 14. น.ส. วรรณา  สุวรรณชาตรี

สรุปรายงานการประชุม นพ. สุภัทร  ฮาสุวรรณกิจ  ผู้รับผิดชอบเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดสงขลา  ได้รายงานความคืบหน้าการจัดทำแผนสุขภาพ  ในขณะนี้ได้มีการลงนามความร่วมมือกับจังหวัดสงขลาและองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ในแผนสุขภาพประเด็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุจากการจราจร  เป็นประเด็นที่มีงบประมาณในการบริหารจัดการที่มีความซับซ้อนหลายหน่วยงาน  ซึ่ง ณ ปัจจุบัน  มีงบประมาณมาจาก  3  ส่วน  ได้แก่  งบประมาณจากจังหวัด (งบCEO) งบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  และงบประมาณจากแผนสุขภาพซึ่งเป็นงบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด  ซึ่งคาดว่า ในแต่ละแผนจะได้ไปจัดทำโครงการ  ประเด็นละ  5  แสนบาท
จุดเน้นของแผนสุขภาพประเด็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุจากการจราจร  มีแนวโน้มในการจัดทำโครงการ 2  เรื่องหลัก
1. เรื่องผลักดันนโยบาย  การใส่หมวกกันน็อคทั้งจังหวัด  ซึ่งจะรณรงค์ใส่หมวกทั้งผู้ขับขี่และผู้นั่งซ้อนท้าย มีแนวทาง คือ 1.  การเก็บข้อมูล เจ็บ  ตาย  พฤติกรรมการใส่หมวก  2. การประชาสัมพันธ์วิทยุชุมชนอย่างต่อเนื่อง  โดยมีบุคลากรราชการเป็นตัวอย่าง  3. การรณรงค์เฉพาะกลุ่ม  เช่น  นักเรียน  การนำวิทยากรที่ประสบอุบัติเหตุ มาร่วมรณรงค์ สำหรับโครงการรณรงค์ใส่หมวก  จะมีงบประมาณ  3  ล้านบาทในการรณรงค์ใส่หมวกพร้อมกันทั้ง  16  อำเภอ  คาดว่ารณรงค์วันที่ 9 กันยายน  2549 ซึ่งจะมีการแจกหมวกกันน็อคจำนวน 9000  ใบ  โดยมีการแจกจ่ายให้  อำเภอหาดใหญ่และอำเภอเมืองสงขลา  2000  ใบ และอำเภอรอบนอก อำเภอละ 500  ใบ  และในวันที่  1  ตุลาคม 2549  จะมีการบังคับใช้กฎหมายการใส่หมวกกันน็อคผู้นั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซต์
2. เรื่องการจัดการข้อมูล GIS ซึ่งใช้เป็นข้อมูลในการเชื่อมโยงการแก้ปัญหาด้านอุบัติเหตุการจราจร  ซึ่งมติ ในที่ประชุมได้มีความเห็นว่า  ในการจัดการข้อมูล GIS จะมีการจัดทีมงานขึ้นมาเพื่อแยกวิเคราะห์ข้อมูลลงโปรแกรม  ก่อนนำเสนอขึ้นเว็บไซต์  โดยทีมงานดังกล่าว  ได้แก่
อ. จุฑารัตน์  เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด  เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุข  เจ้าหน้าที่ตำรวจ  เจ้าหน้าที่ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนสงขลา  ทั้งนี้ในการเก็บข้อมูล  มีการออกแบบฟอร์ม จำนวน 2  จุด คือ 1. โรงพยาบาลและสถานีอนามัย  2. สถานีตำรวจและมูลนิธิ
นางอัจจิมา  พรรณนา  ได้กล่าวว่าสำหรับงบประมาณจังหวัดสงขลา  ที่เป็นงบเหลือจ่ายปี 2549 ได้เขียนโครงการมาตรการใส่หมวกกันนิรภัย  16  อำเภอ  ในขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบงบประมาณ น.ส. สุดาพรรณ์  ภิรมย์บูรณ์  ได้กล่าวถึงงบประมาณของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  ที่มีอาจารย์โสภน  จัดทำโครงการเรลลี่ลดอุบัติเหตุ ซึ่งคาดว่าใช้งบประมาณ 800,000  บาท

ปิดการประชุม

Relate topics

ขออภัย ขณะนี้เว็บไซท์ของดการสร้างหัวข้อใหม่และการแสดงความคิดเห็นไว้ชั่วคราว